ภาษาอีสานทั้งหมด 9861 - 9870 จาก 17431

  • หยุม
    แปลว่า : ขยุ้ม ขยุ้มด้วยเล็บ
  • หยุ่ม
    แปลว่า : หมู่ พวก กลุ่ม อยู่กันเป็นหมู่เรียก เป็นหยุ่ม อยู่เป็นพวก เรียก เป็นหยุ่ม อยู่เป็นกลุ่ม เรียก เป็นหยุ่ม.
  • หยุ้ม
    แปลว่า : ห้อมล้อม แวดล้อม เช่น คนห้อมล้อมกัน เรียก หยุ้มกัน.
  • หยุย
    แปลว่า : เรียกหนังสือเรื่องหนึ่งในวรรณคดีอีสาน กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ไปเกิดเป็น หมาหยุย หนังสือเรื่องนี้มีชื่อว่า ท้าวหมาหยุย อีกอย่างหนึ่งหมายภึงหมาที่มีขนเป็นปุยตามตัวว่าหมาหยุย.
  • หยูก
    แปลว่า : ยารักษาโรค หยูกยา ก็ว่า.
  • หร
    แปลว่า : ชื่อพระอิศวร หร หระ ก็ว่า (ป. ส.).
  • หรคุณ
    แปลว่า : เศษของวันในปีหนึ่งๆ ที่รวมกันนับตั้งแต่ตั้งศักราชเป็นต้นมา.
  • หรดาล
    แปลว่า : ชื่อแร่ชนิดหนึ่งประกอบด้วยธาตุสารหนู และกำมะถัน มีสีแดงอมเหลือง ใช้สำหรับเขียนลายรดน้ำและสมุดดำ (ป. ส. หริตาล) อย่างว่า บางพ่องหน้าหมุ่ยแห้มคือสิ่งหอระดาล ก็มี ตาเมือเทิงทัดยูงตางต้าง ฝูงหมู่หัวเศิ็กท้าวธรงพลายเพียงเมฆ แขนป่งซ้อนโดยฮ้อยฮวาดธนู (สังข์).
  • หรดี
    แปลว่า : ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ป. ส.) อย่างว่า ครุฑก็เนาอยู่เบื้องหนแห่งบูรพา อาคะเนย์แมวอยู่เฝือแฝงฝั้น ทักษิณก้ำราชสีห์แหนแห่ บักเค้าเม้านั่งเฝ้าหรดี ปัจฉิเมนาคเกี้ยวพันดอน พายัพก้ำโคจรหนูอยู่อีสานช้างพลายสารล้านเถื่อน เลื่อนเลื่อนงัวแม่ง้องกินหญ้าฝ่ายอีสาน (โสกทิศ).
  • หรรษ
    แปลว่า : ความรื่นเริง ความยินดี หรรษ หรรษา ก็ว่า (ส.).