ภาษาอีสานหมวด "ก" 1391 - 1400 จาก 1872

  • เกลือ
    แปลว่า : น้ำเค็มที่ได้จากบ่อ เอามาต้มเคี่ยวให้เป็นก้อนเล็กๆ เรียก เกลือสินเธาว์ เกลือบ่อ ก็ว่า อย่างว่า บ้านใกล้บ่ออึดเกลือไปทางเฮืออึดน้ำ (ภาษิต).
  • เกลือก
    แปลว่า : กลั้ว, คลุก, เคล้า อย่างว่า จวงจันทน์คู่ทะลอนหอมแต่มื้อใหม่ บาดห่ากลั้วกลิ่นส้มชมแล้วกะเล่าเหย (ย่า).
  • เกลื่อน
    แปลว่า : มาก, หลาย ของที่เรียงรายเต็มไปทั่วเรียก เกลื่อน อย่างว่า เสลาเนาภูผาเกลื่อนธะรังทะลายย้อง (ลึบ).
  • เกวียน
    แปลว่า : เกวียนที่คนธรรมดาสามัญใช้บรรทุกสิ่งของ เรียก เกวียน ถ้าพระราชามหากษัตริย์ประดับตกแต่งให้สวยงามเรียก ราชรถ รถแก้ว ก็ว่า อย่างว่า เฮือคาแก้งเกวียนเห็นให้เกวียนแก่ บาดห่าฮอดแม่น้ำเฮือชิได้แก่เกวียน (กลอน).
  • เก่เว่
    แปลว่า : เบ้, เบี้ยว การแสดงหน้าเบ้หรือเบี้ยวเพราะไม่พอใจ เรียก เก่เว่.
  • เกษ| เกศ
    แปลว่า : ผม อย่างว่า ลุนก็นีรมิตตั้งจันโทเทิงเกษ ใสส่องเท้าธะร้งฟ้าฮุ่งเฮือง (สังข์).
  • เกษตร
    แปลว่า : ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่ เขตสำหรับทำนาเรียก เขตเกษตร (ส.).
  • เกษตรกร
    แปลว่า : ผู้ทำการเกษตรกรรม (ส.).
  • เกษตรกรรม
    แปลว่า : การทำไร่ไถนาปลูกพืชผักเลี้ยงสัตว์ การประมง การป่าไม้ (ส.).
  • เกษตรศาสตร์
    แปลว่า : วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม (ส.).