ภาษาอีสานหมวด "ก" 1401 - 1410 จาก 1872
-
เกศา
แปลว่า : ผม อย่างว่า เนื้อมุ่ยเพี้ยงบุนนากนงบาน เกษาประดับลูบมันมวยดั้ว ใผแลแล้วลืมตนตาไค่ เซ็งซ่าเจ้าติ่วซ้อยประสงค์หลิ้นม่วนเมือง (สังข์). -
เกษิม
แปลว่า : เกษม, สำราญ, สบาย อย่างว่า ภูเบศร์สร้างนครใหญ่ยูเกษิม เมียงเมียงพลายงาแดงอยู่โฮงพันช้าง อัศดรม้ามโนมัยฮ้อยคู่นายแอบพร้อมพะลานกว้างแกว่งแพน (สังข์). -
เกสร
แปลว่า : ส่วนในของดอกไม้ที่เป็นผงละเอียดเรียก เกสร ไกสร ไก่สร ก็ว่า เช่น เกสรบัว เกสรดอกเกด เป็นต้น อย่างว่า พระก็ชมชอบช้อนในฮ่มนีฮม คือคู่เจียมปรางฮักฮ่วมพานางฟ้าเกสรซะซ่อน ยูท่อนท้าวชมเกี้ยวกล่อมเกลียว (สังข์). -
เกสา
แปลว่า : ผม อย่างว่า เกสาซ้องนิลออนอิดอ่อน ยามเมื่อลมล่วงต้องตา ไว้วาดไว น้อยดุ่งดั้นดอยดู่คอยดู ภูมีเห็นฮ่ำทวงสะเทินท้วง (สังข์). -
เกสี
แปลว่า : ผม อย่างว่า เนื้ออาบเกลี้ยงคันธชาติบัวบาน เกสีฉลวยลูบมันมวยดั้ว คีงเคียนแก้วสายแสงประดับคาด สไบเบี่ยงผ้าแดงด้ามดอกคำ (สังข์). -
เก้อ
แปลว่า : เขิน, ขวยใจ อย่างว่า เหงาหง่วมหลิ้นกันเก้อเกิดสวง (บัง). -
เกา
แปลว่า : เอาเล็บครูผิวหนังเพื่อให้หายคัน เรียก เกา อย่างว่า เกาถืกบ่อนคัน (ภาษิต). -
เกา
แปลว่า : พัด พัดเรียก เกา เช่น ลมพัดเรียก ลมเกา อย่างว่า ดีแก่เกาค้อแคมสวนส้วยสั่น (ฮุ่ง). -
เกา
แปลว่า : ตบ, ตี ตบหรือตีเรียก เกา เช่น ตบกลอง เรียก เกากลอง อย่างว่า เกากลองเสียงข่มเต็งเตินถ้า ตีฆ้องเรียก เกาฆ้อง อย่างว่า สานสานเสียงแส่งกวนเกาฆ้อง (ฮุ่ง). -
เก่า
แปลว่า : ก่อน, แก่ คร่ำคร่า เช่น ลูกเกิดจากเมียคนก่อนเรียก ลูกเก่า คนแก่เรียกคนเก่า ของที่ใช้จนคร่ำคร่าเรียก ของเก่าอย่างว่า ของเก่าหลายหลากล้นเพ้งทีปเทียมโพยม ก็ไป่ปานของเก่าเดิมเดียวได้ (กลอน).