ภาษาอีสานหมวด "ก" 303 - 312 จาก 1872

  • กม
    แปลว่า : ชื่ออักษรที่มีตัว ม สะกด เรียก แม่กม หรือ มาตรากม.
  • ก้ม
    แปลว่า : ทำให้ต่ำลงโดยอาการน้อม เช่น ก้มหัว ก้มหน้า อย่างว่า ก้มหมอบเข้าหัวเท้าง่ายาง ย่างย้งย้งหัวแทบขี้ดิน (เสียว) เสียงสั่งพร้อมพรพร่ำเนืองนัน ลัวอาหิวฮุ่งวอนแวนหม้อม ดีแก่สองขุนก้มลาลงเลยพรากขึ้นที่ม้าผันผ้ายเผ่นผยอง(สังข์).
  • กมล
    แปลว่า : บัว, ดอกบัว, ดวงใจ (ป.).
  • กมลากร
    แปลว่า : สระบัว (ป.).
  • กมลาสน์
    แปลว่า : ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือพระพรหม (ป.ส.).
  • กมเลส
    แปลว่า : ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือพระนารายณ์.
  • กมุท
    แปลว่า : บัวสาย ดอกขาว (ป.ส.).
  • กร
    แปลว่า : 1.) มือ 2.) ผู้ทำ ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่นกรรมกร ผู้ทำการงาน (ป.).
  • กรก
    แปลว่า : ลูกเห็บ กรกวรรษ ฝนลูกเห็บ (ป.ส.).
  • กรกฎ
    แปลว่า : ปู ลักษณะของปูอ่อนในแข็งนอกเดินคดไปคดมา ก้าวไปสองก้าว ก้าวกลับหนึ่งก้าว.