ภาษาอีสานหมวด "ข" 281 - 290 จาก 970

  • ขัน
    แปลว่า : พาน พานสำหรับใส่เครื่องสักการะ มีข้าวตอก ดอกไม้ ธูป ประทีป เทียน จัด 5 คู่ 8 คู่เรียก ขัน 8 เย็บใบกล้วยติดกันเป็นแหนบ เหน็บ ขันดอกไม้และธูปเทียนเข้าเรียก ขันหมากเบ็ง เพราะรวมเทียนและธูปพร้อมดอกไม้ 5 คู่เข้าไว้ในใบกล้วยที่ติดกันเป็นแหนบนี้.
  • ขัน
    แปลว่า : โตก ชื่อภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่แล้วทาด้วยน้ำรัก มีขา 4 ขาหรือไม้แก่นที่กลึงให้กลม มีขอบ เรียก ขันโตก ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร อย่างว่า โตกหน่อยนี้ชื่อว่าโตกไม้จันทน์ ขันหน่อยนี้ชื่อว่าขันไม้แก้ว ขุนนางตกแต่งแล้ว จิ่งยอมา (สู่ขวัญ).
  • ขัน
    แปลว่า : ภาชนะสำหรับตักน้ำกินน้ำใช้ ทำด้วยเงิน ทอง ทองคำ เรียก ขันเงิน ขันคำ ขันทอง ใช้สำหรับรดน้ำเจ้านาย เรียก กระออมเงิน กะออมคำ กะออมทอง ก็ว่า
  • ขัน
    แปลว่า : พานหมาก พานสำหรับใส่หมากพลูว่านยา เรียก ขันหมาก ขันสลา ก็ว่า อย่างว่า ค่อยอยู่ดีเยอขันสลาพร้อมซองพลูแอบหมาก กูจักหนีไปตายผู้เดียวยาเศร้า (ขูลู)
  • ขัน
    แปลว่า : ตลก ขบขัน การพูดหรือการเล่านิทานให้ตลกโปกฮา เรียก เว้าขัน อย่างว่า นกเขาเขียวจับเฮียวไม้ติ้ว มือหนึ่งอิ้วมือหนึ่งบายโค็ย (สอย)
  • ขัน
    แปลว่า : ไทขัน เพชฌฆาต ผู้มีหน้าที่ประหารชีวิตคนทำความผิดต่อบ้านเมือง โบราณเรียก ไทขัน อย่างว่า แล้วเล่าบัญชาให้ไทขันเพชฌฆาต ไปเข่นฆ่าให้มันม้วยมิ่งมรณ์ (เสียว)
  • ขัน
    แปลว่า : ต่อสู้ อาสา การรับเลี้ยงดูเรียก ขันอาสา อย่างว่า ใผอย่าขันอาสาเลี้ยงแนวชะนีฮูปค่าง มันหากเคียวบ่เศร้าผองเท้ากระดูกกอง หั้นแล้ว (ผญา)
  • ขัน
    แปลว่า : วน น้ำไหลวนตาไก่ เรียก น้ำขัน อย่างว่า แนมท่อโทมกินน้ำซิเป็นขันฮ้อยหน่วย ก็ตามถ้อน แสนซิฟองทุ่มกลั้วไทท้ายหากซิแจว (สุด)
  • ขัน
    แปลว่า : มัดให้แน่น เช่น ขันตอกชะเนาะเข้าให้แน่น เรียก ขันชะเนาะ ทอผ้าให้เนื้อแน่นด้วยฟืม เรียก ฟืมขัน อย่างว่า ฟืมซาวห้าขันดีเนื้อถี่ (กลอน)
  • ขัน
    แปลว่า : บอกเวลา การบอกเวลาของไก่เรียก ไก่ขัน คืนหนึ่งๆ ไก่จะขันบอกเวลาสามครั้ง ขันครั้งแรกในระยะเวลาเที่ยงคืน เรียก ขันกก ขันครั้งที่ในระหว่างเวลาตีสาม เรียก ขันชั้น ขันท้า ก็ว่า ขันครั้งที่สามจวนจะสว่างเรียก ขันฮวย ขันในระยะนี้จะขันถี่