ภาษาอีสานหมวด "ข" 961 - 970 จาก 970

  • ขุย
    แปลว่า : น. รังแมลงหรือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินเช่น ขุยจุดจี่ ขุยมด (ภาษาภูไท)
  • ขอบกระด้ง
    แปลว่า : น. อวัยวะภายในของวัว เป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหารอยู่ติดกับผ้าขี้ริ้ว (Rumen) มีสีดำ ผิวขรุขระ ลักษณะคล้ายคันนาหรือขอบของกระด้ง นิยมนำมาทำลวกจิ้ม หรือทำซอยจุ๊ บางครั้งเรียก คันแทนา
  • ขี้เพี้ย
    แปลว่า : น. กากอาหารที่อยู่ในลำไส้ของวัว ควาย แพะ หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง ขี้เพี้ยที่ดีจะเป็นขี้เพี้ยที่อยู่ถัดจากถุงน้ำดี ขี้เพี้ยบริเวณนี้จะมีลักษณะเหลวเป็นน้ำ เป็นความละเอียด กากอาหารน้อย เรียกว่า เพี้ยหัวดี (ออกเสียงว่า เพี่ยหัวดี) ส่วนขี้เพี้ยที่อยู่หลังจากส่วนนี้ไปจะมีกากอาหารมาก มีรสขมน้อยกว่าเพี้ยหัวดี
  • ขี่เพี่ย
    แปลว่า : น. กากอาหารที่อยู่ในลำไส้ของวัว ควาย แพะ หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง ขี้เพี้ยที่ดีจะเป็นขี้เพี้ยที่อยู่ถัดจากถุงน้ำดี ขี้เพี้ยบริเวณนี้จะมีลักษณะเหลวเป็นน้ำ เป็นความละเอียด กากอาหารน้อย เรียกว่า เพี้ยหัวดี (ออกเสียงว่า เพี่ยหัวดี) ส่วนขี้เพี้ยที่อยู่หลังจากส่วนนี้ไปจะมีกากอาหารมาก มีรสขมน้อยกว่าเพี้ยหัวดี
  • ขาจัง
    แปลว่า : ก. ขาเป็นตะคริว กล้ามเนื้อขาเมื่อยล้าเนื่องจากยืนหรือใช้งานนาน ๆ
  • ขาจั้ง
    แปลว่า : ก. ขาเป็นตะคริว กล้ามเนื้อขาเมื่อยล้าเนื่องจากยืนหรือใช้งานนาน ๆ
  • ขี่บ่ถืกป่อง
    แปลว่า : ไม่สมหวัง, ไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนกับการขี้ไม่ตรงปล่อง (รู) 
  • ของแท่
    แปลว่า : ของแท้ ของจริง เก่งจริง เจ๋งจริง ไม่ย้อมแมว บางครั้งก็เขียนแบบภาษาชาวโซเชียลว่า ของแทร่ ก็มีความหมายเดียวกัน
  • ข้าวเบือ
    แปลว่า : น. ส่วนประกอบในการทำอาหารประเภทอ่อม เกิดากการนำข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นแผ่นบาง ๆ นำไปจี่ให้สุกเหลืองกรอบ แล้วนำมาตำให้ละเอียดคล้ายข้าวคั่ว หรือบางท้องถิ่นจะใช้ข้าวสารข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้จนนิ่ม นำมาตำให้ละเอียดเกือบคล้ายแป้ง แล้วนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำให้อาหารมีความหอมและข้นแต่ไม่เหนียว
  • ข้าวเบีย
    แปลว่า : น. ส่วนประกอบในการทำอาหารประเภทอ่อม เกิดากการนำข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นแผ่นบาง ๆ นำไปจี่ให้สุกเหลืองกรอบ แล้วนำมาตำให้ละเอียดคล้ายข้าวคั่ว หรือบางท้องถิ่นจะใช้ข้าวสารข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้จนนิ่ม นำมาตำให้ละเอียดเกือบคล้ายแป้ง แล้วนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำให้อาหารมีความหอมและข้นแต่ไม่เหนียว