ภาษาอีสานหมวด "ข" 451 - 460 จาก 970
-
ขี้เหมี้ยง
แปลว่า : สนิม สนิมที่จับเหล็กทุกชนิดเรียก ขี้เหมี้ยง มีดที่ขี้เหมี้ยงกินเรียกว่า มีดเข้าขี้เมี่ยง. -
ขี้เหล็กบ้าน
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในป่า เรียก ขี้เหล็กบ้าน ใบอ่อนใช้แกงกินเป็นอาหารอร่อยนักแล. -
ขี้เหล็กป่า
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในป่า เรียก ขี้เหล็กป่า ขนาดเท่าขี้เหล็กบ้านแต่ใบใหญ่กว่า ใช้ทำยาแก้ไข้ได้ดี. -
ขี้เหล็กสาร
แปลว่า : แสมสาร ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ขี้เหล็กสาร ใบใหญ่ ใช้ทำยาได้. -
ขี้เหล็กใหญ่
แปลว่า : ชุมเห็ด ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ขี้เหล็กใหญ่ ใช้ทำยา. -
ขี้เฮอะ
แปลว่า : สวะที่ลอยอยู่ตามน้ำ หรือติดอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้ เรียก ขี้เฮอะ อย่างว่า อย่าเตาะเฮอะใส่หัว (ภาษิต). -
ขี้เฮี่ย
แปลว่า : ชื่อปลาชนิดหนึ่ง คล้ายปลาแขยงปักปวดมากจนขี้เรี่ยราด เรียก ปลาขี้เฮี่ย. -
ขีณาสวะ
แปลว่า : พระผู้สิ้นอาสวะกิเลส, พระอรหันต์. -
ขีด
แปลว่า : ลากให้เป็นรอยเส้นหรือสาย ด้วยปากกา ดินสอ หรือของมีคมอย่างอื่นเช่น ขีดเส้นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ขีดลวด ขีดลาย. -
ขีดขั้น
แปลว่า : คั่น, ขอบเขต การกำหนดให้แน่นอนลงไปเรียก ขีดขั้น เช่น เขตบ้าน เขตเมือง เขตวัด.