ภาษาอีสานหมวด "ข" 481 - 490 จาก 970

  • ขุ
    แปลว่า : ล่วง, หล่น สิ่งที่ล่วงหล่นไปตามสภาพเรียก ขุ เช่น ใบไม้แก่ร่วงหรือใบไม้ถูกลมพัดหล่นลงเรียก ใบไม้ขุ อย่างว่า รุกขาไม้ไพสณฑ์แสนส่ำ ยามเมื่อลมพัดต้องขุข้วนหล่นลง (บ.).
  • ขุ
    แปลว่า : สิ้น, ตาย คนแก่เฒ่าตายไปเพราะสิ้นอายุเรียก ขุ หล่น ฮ่วง ก็ว่า อย่างว่า คนเฮาเฒ่าตายไปขุฮ่วง เหมือนดั่งดวงดอกไม้ใบแห้งหล่นเหลือง (บ.).
  • ขุก
    แปลว่า : ที่ลุ่มบนดอน เช่น ที่ทุ่งนามีน้ำพอที่ปลาจะทำเป็นที่อยู่อาศัยได้ เรียก ขุกปลา เขื่องปลา ก็ว่า
  • ขุก
    แปลว่า : สะดุ้ง, กลัว อย่างว่า ขุกตื่นแล้วทวงค้ามเยือกกลัว (ฮุ่ง) พอยามขุกตื่นมาเย็นข้าง (กา).
  • ขุก
    แปลว่า : วุ่นวาย, จลาจล เช่นเสียงดังอึกทึกครึกโครม เรียก ขุก อุกขลุก ก็ว่า อย่างว่า เสียงอุกขลุกมี่นันขึ้น ไปตราบต่อเท้าเถิงพรหมโลก (เวส).
  • ขุก
    แปลว่า : ตื่น, ตกใจ อย่างว่า พ่างพ่างใกล้สูรย์ส่องประกาโย คอนคอนหลับเล่าฝันแฝงน้อง สวาสวาพร้อมกุตโตตบปีก ขุกตื่นหม้อม ไหลฮ้องเฮียกอวน (ฮุ่ง).
  • ขุ้งขุ้ง
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนเป็นหวัดลงคอ เสียงไอดัง ขุ้งขุ้ง.
  • ขุด
    แปลว่า : เจาะ, สับ เช่นเจาะดินเรียก ขุดดิน ก่น ก็ว่า อย่างว่า ขุดดินดังประสงค์หาแต่บ่อนกิ่ว แนวสิ่วไม้ประสงค์ไง้แต่บ่อนบาง (ผญา).
  • ขุน
    แปลว่า : ชื่อบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ ผู้ทำคุณงามความดี ได้รับยกยองจากพระราชามหากษัตริย์ให้มียศฐาบรรดาศักดิ์เป็นขุน ในวรรณคดีอีสานเรื่องสังข์ศิลปชัยก็ปรากฎว่าผู้ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุน มีขุนศรีกับขุนคอน.
  • ขุนเขือก
    แปลว่า : ขุนนางผู้มียศศักดิ์สูงกว่าขุนทั้งหลาย เรียก ขุนเขือก ขุนเล้ม ก็ว่า อย่างว่า ฝูงหมู่ขุ่นเขือกล้อมระวังท้าวป่าวไป (สังข์).