ภาษาอีสานหมวด "ข" 661 - 670 จาก 970
-
โขด
แปลว่า : ดินหรือหินที่สูงขึ้นเป็นโคกเป็นเนิน เรียก โขด ถ้าเป็นดินเรียก โขดดิน เป็นหิน เรียก โขดหิน. -
โขนโชน
แปลว่า : ขาวโพลน คนแก่เถ้าผมขาวหมดทุกเส้น เรียก เถ้าโขนโชน อย่างว่า ทะล่วนพร้อมฝูงหมู่หมอโหร ยนยนยวงยื่นไปดูหน้า ใผผู้โขนโซนพุ้นยังพลอยกายลุ่ม อันนั้นเถ้าจ่าช้อนเวนเช้าบ่ทัน (ฮุ่ง). -
โขบ
แปลว่า : เปราะ ไม่เหนียว ใบตองที่แห้งเหี่ยวงอเข้าติดกัน เรียก ใบตองโขบ. -
โขบโข้
แปลว่า : ใบตองแห้งที่เหี่ยวติดกัน ถ้าดึงออกก็ขาด เรียก โขบโข้. -
โข่ม
แปลว่า : ที่ลุ่ม นาที่ลุ่มฝนตกลงมานิดหน่อยน้ำก็ขัง เรียก นาโข่ม นาขุ่ม นาลุ่ม ก็ว่า อย่างว่า ฝนตกห้งไหลโฮมนาโข่ม นาบ่อนสูงบ่ค้างโฮมห้งแต่บ่อนขุม (กลอน) -
โข่ย
แปลว่า : เยื่อในกระดูก หรือ ขมองในกระดูก เรียก โข่ย. -
โข่ย
แปลว่า : โง่ เขลา เบาปัญญา คนแสดงความโง่ให้เห็นเรียก ขายโข่ย อย่างว่า เกิดเป็นชายอย่าได้ขายโข่ย (กาพย์ปู) -
โข้โหล้
แปลว่า : ใหญ่และสั้น สิ่งที่มีลักษณะใหญ่และสั้น เรียก โข้โหล้ อย่างว่า เจ้าโข้โหล้เจ้าผู้โค็ยโปเอย บาดว่าโค็ยโปล้มใผซิโจมขึ้นซ่อย เจ้าเด (กลอน) -
โข้โหล้
แปลว่า : ท่อนไม้ใหญ่และสั้นวางไม่เป็นระเบียบ เรียก วางโข้โหล้ โข้โหล้เข้เหล้ ก็ว่า -
ไข
แปลว่า : -มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).