ภาษาอีสานหมวด "ค" 961 - 970 จาก 975
-
โค้น
แปลว่า : น. ที่เก็บของบนหลังคาบ้าน (ภาษาภูไท) -
คะลน
แปลว่า : น. คน(กริยา) คนให้ทั่ว (ภาษาภูไท) -
คะลำ
แปลว่า : ก. ผิด บาป กรรม สิ่งใดทำแล้วผิด (ภาษาภูไท) -
คันยู่
แปลว่า : น. ร่ม (ภาษาภูไท) -
คิ่งนิ่ง
แปลว่า : ว. ตรง ซื่อคิ่งนิ่ง แปลว่า ตรงลิ่ว (ภาษาภูไท) -
เค้อ
แปลว่า : ว. ใกล้ เช่น เพอยูไก๋เพิ่นเห้อเพอยูเค้อเพิ่นซัง (ภาษาภูไท) -
เคาะ
แปลว่า : น. คอก เช่น เคาะโงเคาะควายเคาะไก่เคาะกาก๋าเห้อโหซา (ภาษาภูไท) -
คันแทนา
แปลว่า : น. อวัยวะภายในของวัว เป็นส่วนหนึ่งของกระเพาะที่เรียกว่า Rumen (กระเพาะผ้าขี้ริ้ว) มีสีดำ ผิวขรุขระ ลักษณะคล้ายคันนาหรือขอบของกระด้ง นิยมนำมาทำลวกจิ้ม หรือทำซอยจุ๊ บางครั้งเรียก คันนา ขอบกระด้ง -
คันนา
แปลว่า : น. อวัยวะภายในของวัว เป็นส่วนหนึ่งของกระเพาะที่เรียกว่า Rumen (กระเพาะผ้าขี้ริ้ว) มีสีดำ ผิวขรุขระ ลักษณะคล้ายคันนาหรือขอบของกระด้ง นิยมนำมาทำลวกจิ้ม หรือทำซอยจุ๊ บางครั้งเรียก คันแทนา ขอบกระด้ง -
คนพอกะเทิน
แปลว่า : คนที่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ จะดีก็ไม่ดี เอาดีไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร กะโหลกกะลา คำว่าพอกะเทินในภาษาอีสาน หมายถึงครึ่ง ๆ กลาง ๆ