ภาษาอีสานหมวด "ฉ" 11 - 20 จาก 26

  • ฉายา
    แปลว่า : เงาเรียก ฉายา (ป.) อย่างว่า ฉายายลล่วงลงคลาคล้อย (สังข์) ร่มไม้เรียก ฉายาไม้ อย่างว่า ฉายาไม้เงาไฮเอียงอ่วยเถิงเมื่อแลงค่ำค้อยบาท้าวจอดนอน (กา).
  • ฉำฉา
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง มีกิ่งก้านสาขาแผ่ปกคลุมไปกว้างไกล เมื่อถูกลมพัดมักจะหักง่าย เป็นไม้น้ำหนักเบาเหมาะสำหรับปลูกครั่ง ใช้ทำลังบรรจุสิ่งของส่งไปทางไกล เรียก ต้นฉำฉา ก้ามปู กะปู ก็ว่า.
  • ฉิ่ง
    แปลว่า : เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลมคล้ายถ้วย เจาะรูตรงกลาง ใช้เชือกร้อยให้เป็นคู่กันสำหรับถือตีบอกจังหวะ หรือตีประสานกับเสียงกลอง ฉิ่งมี ๒ ชนิดคือชนิดเล้กและใหญ่ ถ้าเล็กเรียก ฉิ่ง ถ้าใหญ่เรียก แฉ่ง เรียก แส่ง ก็มี.
  • ฉิมพลี
    แปลว่า : ไม้งิ้ว ต้นงิ้วที่เกิดรอบสระเรียก สระฉิมพลี อย่างว่า ปืนเล่ายังแสวงเท้าฉิมพลีสระใหญ่ ผันล่วงเข้าเถิงท้าวครุฑหลวง (สังข์) หลิงดูมาลาพร้อมฉิมพลีงิ้วง่า (ผาแดง).
  • ฉุย
    แปลว่า : เฉียดไป เฉี่ยวไป การเดินเฉียดไปเรีกย ย่างฉุยไป.
  • เฉลา
    แปลว่า : สวย งาม เกลี้ยงเกลา เพราพริ้ง รุปร่างสวยงามเรียก เฉลา อย่างว่า ดูเลิศล้นพ้นกว่าเมืองคน โฉมเฉลาคือดั่งคำเลียงไว้ ชื่อว่าสินธะถาท้าวแนวอินทร์ปลองปลูกมานั้น ก้หากดูเลิศล้ำงามระห้อยดั่งเขียน (สังข์).
  • เฉวียง
    แปลว่า : เอียง เบี่ยง ตะแคง ทแยง ผ้าที่พระสงฆ์ใช้ห่มเฉลียง เรียก ผ้าเฉวียง ผ้าเสลี่ยง ผ้าเบี่ยง ก็ว่า.
  • แฉล้ม
    แปลว่า : แช่มช้อย งดงาม คนที่มีรูปร่างงดงามเรียก แฉล้ม อย่างว่า นางมะทีศรีแฉล้ม สองฝ่ายแก้มแปกผิวคำ สองตาดำดีดูปลอด แขนส้วยสอดอกไข พื้นมือใสสะซ่อน เนื้อเกลี้ยงอ่อนผิวนวลนวล ลักษณะดีควรคาด เป็นลูกท้าวมัททะราชราชา (เวส).
  • โฉด
    แปลว่า : โง่ เขลา คนโง่เขลาเบาปัญญา เรียก คนโฉด.
  • โฉม
    แปลว่า : รุปร่าง ทรวดทรง รูปร่างของคนเรียก โฉม อย่างว่า โฉมเสงียมงามยอดหญิงตองไว้ (กา) คื่นคื่นเค้าบินเวิ่นเวหา ทังปวงแยงยาดกันดูน้อย เมื่อนั้นนูเนือท้าวบาศรีโฉมฮาบ คอยผ่อน้องทังค้ายใคร่กระสัน (สังข์).