ภาษาอีสานหมวด "ซ" 261 - 270 จาก 497
-
เซ่น
แปลว่า : ยุค สมัย ปาง ชั่วอายุคน ชั่วอายุคนคนหนึ่งเรียก เซ่นหนึ่ง อย่างว่า ใผผู้เกิดฮ่วมห้องชาติเซ่นของเฮา (กา) ผู้เกิดก่อนเรียก เซ่นก่อน ร้อยชั่วอายุคนเรียก ฮ้อยเซ่น อย่างว่า เป็นกงกั้งนครเฮาฮ้อยเซ่น มาแล้ว (สังข์). -
เซ็นเซ็น
แปลว่า : กระเด็น ไหล ริน อย่างว่า ฝูงแกว่นใกล้เฮียกฮ่ำโฮมขวัญ เซ็นเซ็นชลฮาไหลท่าวเททังเยื้อน (สังข์) เมื่อนั้นสวงทอดถ้อยต้านต่อเสนา เซ็นเซ็นชลหลั่งลงฮำหน้า (สังข์). -
เซอเลอ
แปลว่า : เซ่อ หลงลืม คนเผลอเลอ เรียก คนเซอเลอ เซ่อเล่อ ก็ว่า. -
เซอะ
แปลว่า : ล้างด้วยน้ำ ล้างข้าวสารด้วยน้ำเพื่อจะเอามาหุงหรือนึ่ง เรียก เซอะเข้า. -
เซอะ
แปลว่า : สุรุ่ยสุร่าย คนใจ่ายไม่รู้จักประหยัดเรียก คนเซอะ. -
เซา
แปลว่า : ที่นั่งทำเป็นคอกสี่เหลี่ยมหรือรูปกลม เรียก เซา สำหรับทำให้เด็กนั่งเล่นแทนเก้าอี้. -
เซา
แปลว่า : หยุด พัก พักเหนื่อย เลิก ระงับ เรียก เซาแคลน หรือ เซามีแฮง ก็ว่า อย่างว่า บาเถิงแล้วเซาแคลนคราวหนึ่ง หลิงดูโทดโทดน้ำตีเต้นฟาดฟอง (สังข์) หยุดชั่วคราว เรียก เซายั้ง พักให้เย็นสบายเรียก เซาฮ้อน หยุดพักม้าเรียก เซาม้า. -
เซาะ
แปลว่า : ทำให้พัง ทำให้แหว่ง เช่น น้ำเซาะดิน เสียมเซาะดิน. -
เซิง
แปลว่า : การสมสู่อยู่ร่วมของคน โดยไม่เลือกกาล ไม่เลือกสถานที่ ไม่เลือกว่าเป็นพ่อแม่หรือลูก สมสู่แบบสัตว์ การสมสู่แบบนี้โบราณเรียก เซิง. -
เซิ่ง
แปลว่า : ซึ่ง ซึ่งเรียก เซิ่ง อย่างว่า ทุกไทชมเซิ่งบุญบาท้าว (สังข์).