ภาษาอีสานหมวด "ด" 201 - 210 จาก 448
-
เด
แปลว่า : แน่ จริง อย่างว่า อวนก็พเนจรดั้นดงขวางมาฮอด แลรือ พระบาทเจ้าแผ่นล้านยังค่อยสวัสดีบ่เด (ฮุ่ง). -
เด่
แปลว่า : ยื่น เช่นยื่นแขนเรียก เด่แขน ยื่นขาเรียก เด่ขา ยื่นมือเรียก เด่มือ อย่างว่า ก็จิ่งบันดาลให้สาขาเอื้อมอ่วย ลงสู่พื้นสองน้อยเด่บาย (เวส-กลอน). -
เด็ก
แปลว่า : เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีเรียก เด็ก อย่างว่า เด็กน้อยมีเงินเฟื้องสองไพก็อยากอวด ผู้ใหญ่มีดั้งตื้อถือไว้บ่อวดใผ (กลอน). -
เด็กชา
แปลว่า : ข้าราชการชั้นผู้น้อยจำพวกรับใช้ในกรมมหาดเล็ก. -
เด้ง
แปลว่า : กระเด้ง กระเด้งขึ้นด้วยกำลังดีด เรียก เด้ง เด๋เด้ง ก็ว่า อย่างว่า ตุ้มกลางดง จงกงกลางเหล่า เอ้าเพ้ากลางเฮือน เด๋เด้งกลางชาน (ปัญหา). -
เดช
แปลว่า : อำนาจ อย่างว่า ทุกขอบข้าขามเดชโดยพลัน เขาก็ปุนศาลสูงขอบเชียงเชิญยั้ง เมื่อนั้นทังหกท้าวทวนความให้แต่งไว้ออกไท้ทังน้องที่บัง (สังข์). -
เดโช
แปลว่า : อำนาจ เดช อย่างว่า เดโชเซ็งไพร่ไทสบายแจ้ง (กา). -
เดน
แปลว่า : ของเศษ ของเหลือ ของเหลือกินเหลือใช้เรียก เดน เงื่อน ก็ว่า อย่างว่า ฟังยินเปล้าป่าวฮ้องเฮียงลูกสอนเสียง พุ้นเยอ สองค่อยพากันเก็บเงื่อนลิงเล็มป้อน ฟังยินแกงกดเค้าคณามุมฮ้องฮ่ำ เจ้าหล้าซ้อยฟังย้านสั่นสาย (สังข์). -
เด็น
แปลว่า : กระเด็น กระทบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเคลื่อนไป เรียก เด็น สะเด็น ก็ว่า อย่างว่า หัวสะเด็นตกขอบดอยดงกว้าง (กา). -
เดรัจฉาน
แปลว่า : สัตว์เดรัจฉาน เดรฉานก็ว่า สัตว์ที่เดินหัวตก เรียก สัตว์เดรัจฉาน ต่างกับคน คนจะนั่งหรือยืนเดินหัวไม่ตก อย่างว่า เฮาชิกลัวมันสังส่ำเดรัจฉานเชื้อ (สังข์).