ภาษาอีสานหมวด "ด" 221 - 230 จาก 448
-
เดิ้ม
แปลว่า : แบบอย่าง ทำเป็นแบบอย่าง ทำเป็นต้นตอให้คนอื่นทำตาม เรียก เดิ้ม. -
เดี่ย
แปลว่า : ผงะหงาย หงายหลังล้ม เรียก เดี่ยหลัง. -
เดียก
แปลว่า : ฉีด เช่นเอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วฉีดออก เรียก น้ำเดียก. -
เดี๊ยก
แปลว่า : อาการพุ่งออกอย่างแรง ด้วยกำลังดันของน้ำ เรียก เดี๊ยก เจี๊ยก ก็ว่า. -
เดียง
แปลว่า : บอกใบ้ บอกให้รู้ระแคะระคายเรียก เดียง อย่างว่า พี่จักเดียงกลอนสารกล่าวมามีเลี้ยง (กา) สอบถามเรียก เดียง อย่างว่า ก็จิ่งเดียงคำต้านถามบาน้อยนาถ (กา). -
เดียง
แปลว่า : ตรวจตรา พิจารณา อย่างว่า ให้น้องเดียงดูเบื้องพระกายกองซ้ำตื่ม (กา). -
เดียง
แปลว่า : เพียง อย่างว่า ท่อว่าลูกหน่อท้าวเทียมราชในหอ นั้นเด ควรที่ภูมีมักปลูกแปลงองค์อ้าย ข้านี้เป็นเดียงชั้นชายลำลุนเพื่อน จริงแล้ว ก้ไปเพิงพ่อเจ้าจอมซ้อยที่ประสงค์ (สังข์). -
เดี้ยง
แปลว่า : สีข้าง ชายโครงกระดูกสีข้าง เรียก เดี้ยง. -
เดี้ยง
แปลว่า : บ่วงรัดคอ เชือกที่ทำเป็นวงกลมสำหรับรัดคอวัวควายตัวที่ยังไม่ได้สนตะพาย (สนเครา) เรียก เดี้ยงต่องคอ ก็ว่า. -
เดี้ยง
แปลว่า : ไม่เท่ากัน ไม่เรียบ เช่น คนขาเป๋ เวลาเดินไปมาเท้าจะเดี้ยงด้าง อย่างว่า เจ้าผู้ย่างเดี้ยงด้างคือช้างแกว่งหาง (บ.).