ภาษาอีสานหมวด "ด" 441 - 450 จาก 448

  • ดอนปู่ตา
    แปลว่า : น. ศาลที่มีดวงวิญญาณของบรรพบุรุษสถิตอยู่ มีลักษณะพื้นที่เป็นโคก น้ำท่วมไม่ถึง มีต้นไม้ใหญ่หนาทึบ มีการก่อสร้าง“ตูบ” เป็นที่สถิตของเจ้าปู่ทั้งหลาย
  • โดน
    แปลว่า : ว.ด่วน (ภาษาภูไท)
  • ดี๋เจ็บดี๋ไข้
    แปลว่า : หายเจ็บหายไข้ (ภาษาภูไท)
  • เดิ่น
    แปลว่า : น. ลานกว้าง (ภาษาภูไท)
  • ดน
    แปลว่า : ว. นาน หรือ บ่ดน แปลว่า ไม่นาน (ภาษาภูไท)
  • ด้น
    แปลว่า : น. ท่อน  ด้นฟืนแปลว่าดุ้นฟืน (ภาษาภูไท)
  • ดอกจอก
    แปลว่า : น. อวัยวะภายในของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย แพะ เป็นกระเพาะลำดับที่ 2 ของการลำเลียงอาหาร ภาษาอังกฤษเรียก Retuculum อยู่ติดกับส่วนหน้าของกระเพาะรูเมน (ผ้าขี้ริ้ว) หญ้าที่เคี้ยวเอื้องถูกบดให้ละเอียดมากขึ้นก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 3 (สามสิบกลีบ) ต่อไป บางครั้งเรียก รังผึ้ง หรือ ดางแห
  • ดางแห
    แปลว่า : น. อวัยวะภายในของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย แพะ เป็นกระเพาะลำดับที่ 2 ของการลำเลียงอาหาร ภาษาอังกฤษเรียก Retuculum อยู่ติดกับส่วนหน้าของกระเพาะรูเมน (ผ้าขี้ริ้ว) หญ้าที่เคี้ยวเอื้องถูกบดให้ละเอียดมากขึ้นก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 3 (สามสิบกลีบ) ต่อไป บางครั้งเรียก รังผึ้ง หรือ ดอกจอก