ภาษาอีสานหมวด "ต" 161 - 170 จาก 779
-
ตะจะ
แปลว่า : หนัง เปลือกไม้ (ป.). -
ตะโนม
แปลว่า : รูปร่าง ทรวดทรง สัณฐาน เรียก ตะโนม ตะโนมพรรณ ก็ว่า อย่างว่า ท่อว่าตะโนมพรรณเพี้ยงสีสัณงามฮูป (กา) ตะโนมพรรณคือฮูปคำซาวเบ้า (ขุนทึง) มันค่อยตุ้มตะโนมนาถเฮียงฮส ดาแคงควรเวดระวังองค์แก้ว ฟังยินทมทมฮ้องเสียงคนคุงเมฆ มโนนาฏคลุ้มคือบ้าทั่วธรัง (สังข์). -
ตะบอง
แปลว่า : ค้อนสำหรับตีเรียก ค้อนตะบอง ตะบองเพชร ก็ว่า อย่างว่า คีงแพงเข้มสูรแสงเคียดเคร่ง มือแบกค้อนทองล้านลากกะบอง (สังข์). -
ตะแบ่น
แปลว่า : สวยสด งดงาม อย่างว่า ตะแบ่นหน้าท้าวหนุ้มนงไว ยินสองศรีล่ำบนบังฮ้อน บาศรีพร้อมสองนางนอนฝั่ง น้องท่านเฝ้าแฝงใกล้เกียดโพย (สังข์). -
ตะใบ
แปลว่า : เครื่องมือทำด้วยเหล็ก ใช้ถูเหล้กและโลหะอื่นๆ ให้เกลี้ยง เรียก ตะใบ. -
ตะพด
แปลว่า : ไม่ถืออย่างหนึ่ง ทำด้วยไม้รวกยาวประมาณ 1 เมตร เรียก ค้อนตะพด ตะป๊ด ก็ว่า. -
ตะพอง
แปลว่า : ปุ่มที่นูนขึ้นสองข้างของศีรษะช้าง เรียก ตะพองช้าง ก้องเหล้า ก็ว่า. -
ตะพัง
แปลว่า : แอ่ง บ่อ หนอง หนองขังน้ำขนาดใหญ่เรียก ตะพัง กะพัง สะพัง ก็ว่า อย่างว่า กะพังทองโบกน้ำบึงกว้างย่านยาว (กา). -
ตะพาน
แปลว่า : สะพาน สิ่งที่ทำสำหรับข้ามน้ำ ทำด้วยไม้แก่น ทำด้วยเหล็ก ด้วยปูน เรียก ตะพาน สะพาน ขัว ขัวตะพาน ก็ว่า อย่างว่า แต่นั้นเมืองสองก้ำเป็นตะพานเทียวท่อง พระแม่เจ้าบุญกว้างแผ่ผาย (สังข์) หว้ายย่านน้ำโดยได้ไต่ตะพาน เจ้าเอย (เวส). -
ตะพึด
แปลว่า : ตะบึงไป ไม่หยุด ไม่เลือก เช่น ไปตะพึด เฮ็ดตะพึด กินตะพึด เว้าตะพึด ตะพึดตะพือ ก็ว่า.