ภาษาอีสานหมวด "ต" 141 - 150 จาก 779

  • ต้อม
    แปลว่า : ชักชวนคนให้มารวมกันทำบุญหรือทำกิจการส่วนรวม เรียก ต้อมคน.
  • ต่อมต้อย
    แปลว่า : ยากจน เข็ญใจ คนยากจนเข็ญใจเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน เรียก ทุกข์ต่อมต้อย อย่างว่า ข้อยนี้ทุกข์ต่อมเตาะทุกข์ต่อมต้อยขอเข้าเพิ่นกิน (บ.).
  • ตอย
    แปลว่า : ตอแย แหย่เย้า ยั่ว.
  • ต่อย
    แปลว่า : ชื่อพลูชนิดหนึ่ง มีรสเผ็ดเรียก พลูต่อย พลูกะต่อย ก็ว่า.
  • ต่อย
    แปลว่า : ตบ ตี ตีกลองเรียก ต่อยกลอง อย่างว่า ไทระเบ็งเกาะต่อยกลองเฟือนฟื้น (ขูลู) ตีหัวเรียก ต่อยหัว อย่างว่า ใจขุ่นเขี้ยวปานค้อนต่อยหัว (กา) ชกมวยเรียก ต่อยมวย ตีเหล็กไฟเรียก ต่อยเหล็กไฟ.
  • ต้อย
    แปลว่า : เอานิ้วแตะเบาๆ เรียก ต้อย เช่น ต้อยปูน เอามือแตะหนักเรียก ต้วย เช่น เอามือต้วยก้น.
  • ต้อยต้อย
    แปลว่า : ช้า เคี้ยวอาหารช้าๆ เรียก เคี้ยวต้อยต้อย เดินช้าเรียก ย่างต้อยต้อย พูดช้า เรียก เว้าต้อยต้อย ทำช้าเรียก เฮ็ดต้อยต้อย.
  • ต่อย่อ
    แปลว่า : ยู่ย่น หดห่อ คนที่มีลักษณะไม่ผึ่งผายนั่งคอหด เรียก คอหดต่อย่อ.
  • ตอแย
    แปลว่า : เย้าแหย่ พูดเย้าแหย่ เรียก เว้าตอแย อย่างว่า คันว่ากลายจากน้องเจ้าอย่าปากนำใผ ญิงใดแท้ตอแยถามข่าว อ้ายอย่าได้ต่าวหน้าจาต้านตอบเขา (ผาแดง).
  • ตะ
    แปลว่า : เดิน ไป มักใช้นำหน้าคำว่าเดินเป็น ตะเดิน อย่างว่า มันก็นำเอาหัวต่อตนตะเดินได้ (สังข์).