ภาษาอีสานหมวด "ท" 261 - 270 จาก 449
-
เทียนสิง
แปลว่า : เทียนที่หล่อให้กลมกล่อมหาที่ติไม่ได้เรียก เทียนสิง คนที่มีรูปร่างสวยงามหาที่ติไม่ได้โบราณเปรียบดุจเทียนสิง อย่างว่า ตาเคี่ยมคิ้วคือคู่สาวสวรรค์ เลาแขนแกมเกิ่งเทียนสิงไว้ สีพราวน้อยนางจันทร์อบเกษ เขาใคร่ได้แทนเชื้อสืบสาย (ฮุ่ง). -
เทียบ
แปลว่า : เปรียบ เสมอ เหมือน เอาของตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาเปรียบกันเรียก เทียบ เทียบเทียม เทียมเทียบ ก็ว่า อย่างว่า จันทร์เพ็งแจ้งบ่ปานแสงสุริเยศ แสงกระบองหมื่นเหล้มบ่เทียมแจ้งแห่งพระจันทร์ (กลอน). -
เทียม
แปลว่า : กระเทียม ผักหอมชนิดหนึ่ง เรียก ผักเทียม. -
เทียม
แปลว่า : เท่า เสมอ อย่างว่า การพี่เพี้ยงเทียมท่อธรณี (สังข์). -
เทียม
แปลว่า : เรียง เคียง ใกล้ นั่งเรียงกัน เรียก นั่งเทียมกัน อย่างว่า มานั่งล้อมเทียมแม่เพิงใจ (ฮุ่ง). -
เทียมแทบ
แปลว่า : อยู่กินด้วยกันเรียก เทียมแทบ อย่างว่า พ่อจักวางสามเจ้าปุนไปเทียมแทบ (กา). -
เทียระฆา
แปลว่า : ยาว นาน ไกล ยืน อย่างว่า ให้ค่อยเทียระฆาคงอย่ามีคำฮ้อน (กา) นาคหนุ่มต้านยังเที่ยงเทียระฆา (สังข์) แทนแก่บุญสูงไท้บุญเจืองพระพ่อ บัดนี้เฮาก็ม้างหมุ่ฮ้ายแสนสิ่งเทียระฆา (ฮุ่ง). -
เทียว
แปลว่า : เดินไปมา เรียก เทียว อย่างว่า บุญเฮืองท้าวเทียวทางถามข่าว (กา) เพิ่นซังโตให้เทียวไปเว้า (ภาษิต). -
เที้ยว
แปลว่า : ครั้ง คราว เดินไปมาแต่ละครั้งเรียก เที้ยว อย่างว่า ทางเก่าเกี้ยวหลายเที้ยวต่าวมา (เวส-กลอน). -
เทียะ
แปลว่า : สุกงอม มะม่วงสุกจนงอม เรียก หมากม่วงเทียะ.