ภาษาอีสานหมวด "ท" 251 - 260 จาก 449
-
เทิบ
แปลว่า : เพิงหมาแหงนเรียก เทิบ เงื้อมหินหรือดินที่อยู่ตามตลิ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของกบเต่า เรียก เทิบหิน เทิบดิน. -
เทิบ
แปลว่า : คนตาหรี่ตาปรือ เรียก คนตาเทิบ. -
เทิม
แปลว่า : บริเวณที่มีป่าปลอดลม เรียก เทิม เทิ้ม เทื้อม ก็ว่า. -
เที่ยง
แปลว่า : กึ่งกลางเวลากลางวันและกลางคืน กลางวันเรียก เที่ยงวัน กลางคืนเรียก เที่ยงคืน. -
เที่ยง
แปลว่า : ตรง แน่นอน สิ่งที่เที่ยงตรงและแน่นอนโบราณหมายเอาพระนิพพาน อย่างว่า โลกบ่มีเที่ยงหมั้นคือดั่งนีรพาน (กลอน). -
เทียน
แปลว่า : ขี้ผึ้งที่หล่อมีไส้อยู่ตรงกลาง ใช้จุดให้สว่างหรือจุดบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ เรียก เทียน อย่างว่า พระจิ่งกล่าวเพื่อนพร้อมให้นำแนบสองขุน อวนขามาบังคมทอดเทียนวันนี้ (สังข์). -
เที่ยน
แปลว่า : เพิ่ม เติม เพิ่มน้ำเรียก เที่ยนน้ำ อย่างว่า ชมชมล้นชลธาแพ่งแพ่ง น้ำเที่ยนแล้วบนบอกนางเมือง (ฮุ่ง). -
เที่ยน
แปลว่า : ถ่ายออก ตักน้ำออกจากโอ่งใส่ไหเรียก เที่ยน อย่างว่า ยอบวยคำเที่ยนลงเลยเมี้ยน (ฮุ่ง). -
เที้ยน
แปลว่า : ทั่ว ทั้งหมด ตลอด อย่างว่า ฝันว่านาคราชขึ้นเทิงแท่นสถานทอง ฮงฮงเฮืองหอนคำหมื่นตัวเต็มห้อง ฝันว่ากลองหลวงเที้ยนคนตีเตินป่าว เสียงสนั่นเท้าทังฆ้องหากดัง (ฮุ่ง). -
เทียนย่อม
แปลว่า : ย่อม เป็นคำช่วยกริยา เช่น ย่อมมี ย่อมเป็น คือกำลังมี กำลังเป็น ภาษาพูดหมายถึงลดลง หย่อนลง เช่นของกินมื้อนี้เทียนย่อม คือมีน้อย อย่างว่า เทียนย่อมพิทักษ์ฮักษา ยังฝูงคนแลเทวดาทังหลาย (บ.).