ภาษาอีสานหมวด "ท" 271 - 280 จาก 449
-
เทื่อ
แปลว่า : ครั้ง คราว หน ครั้งเดียวเรียก เทื่อเดียว อย่างว่า หลานจ่งเห็นแก่ข้าขอเจ้าเทื่อเดียว นี้แล้ว (สังข์). -
เทือง
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลปอ ดอกสีเหลือง เปลือกทำเชือก ใช้สานแห สานมอง สานโต่ง สานช้อน สานนาม สานหวิง. -
เทือง
แปลว่า : เพรียง ตัวด้วงที่เกิดอยู่ตามขอนไม้ซึ่งจมอยู่ในน้ำ เรียก เทือง. -
เทือง
แปลว่า : ขุนเทือง ในวรรณคดีอีสานเรื่องขุนทึงกล่าวไว้ว่า ขุนเทืองไปได้นางนาคเป็นเมีย ได้ลุกชายหนึ่งคน ลุกชายชื่อขุนทึง เมื่อกลับมาบ้านเกิดก็เอาลูกชายมาด้วย. -
เทื้อม
แปลว่า : โพรงดินคล้ายถ้ำ ป่าที่ขึ้นปกคลุมหนาทึบ เรียก เทื้อม เทิม ทึม คึม ก็ว่า อย่างว่า สองอยู่ซ้นคึมป่าบังบด เฮียงมือเอาบุญคุณตื่มเป็นปราการแก้ว แลงงายได้ผาลาเล็มบ่าง บกพอกพร้อมยมหว้ากอกเสียง (สังข์). -
เทือย
แปลว่า : กระเทย ชายที่มีอวัยวะเพศไม่แข็งเรียก เทือย กระเทือย คันเทือย ก็ว่า. -
เทื้อย
แปลว่า : อ่อน อ่อนจนใช้การไม่ได้เรียก อ่อนเทื้อย อ่อนท้วยเทื้อย เตื้อย ก็ว่า. -
แท้
แปลว่า : จริง, แท้, ไม่ปลอม อย่างว่า ทรายก็ให้เป็นทรายแท้อย่าแถมแกหินแฮ่ ทรายกะทรายแท้แท้ตมนั้นอย่ามี (ย่า). -
แทก
แปลว่า : วัด กำหนดให้รู้ขนาดเรียก แทก อย่างว่า ไม้บ่ทันแทกด้ามอย่าได้ฮ่าวฮอนตัด เกรงจักเสียภายลุนชิโพดมือเมือหน้า (ภาษิต). -
แทดแทด
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงตั๊กแตนขยับปีกจะบิน หรืออาการที่ไก่ตัวผู้กระพือปีกปกป้องไก่ตัวเมีย หรือไก่ปปปีกจะตีกันว่า มังแทดแทด.