ภาษาอีสานหมวด "น" 141 - 150 จาก 476
-
น้ำท่า
แปลว่า : น้ำทั่วไปคือน้ำที่มีอยู่ตามห้วยหนองคลองบึง และน้ำฝนที่ตกลงมาจากฟ้า เรียก น้ำท่า อย่างว่า อัศจรรย์น้ำในหนองนาเอิ้นน้ำท่า บาดห่าตกจากฟ้าสังมาเอิ้นว่าฝน (กลอน). -
น้ำมอก
แปลว่า : ปืนใหญ่ ปืนใหญ่โบราณเรียก น้ำมอก ละมอก ก็ว่า อย่างว่า น้ำมอกก้องหลังหน้าผาบมาร (ผาแดง) ปืนหลักพร้อมตีกำละมอกใหญ่ (สุริยวงศ์). -
น้ำมันเขียว
แปลว่า : น้ำมันชนิดหนึ่ง ทำจากใบว่านใบยา ผสมน้ำมันพืช และน้ำมันสัตว์ใช้ทานวดแก้เคล็ดบวม เรียก น้ำมันเขียว. -
น้ำมันมนต์
แปลว่า : น้ำธรรมดาหรือน้ำมันมะพร้าว ที่เสกมนต์แล้วแก้กระดูกหัก กระดูกแตก แก้เคล็ดบวมหรือบาดแผล เป็นของดีอีสานที่นับวันจะหายไป. -
น้ำมาก
แปลว่า : น้ำขึ้นหรือน้ำหลาก เรียก น้ำมาก น้ำแก่ง ก็ว่า. -
น้ำย้อม
แปลว่า : สีต่างๆ เช่น สีดำ สีแดง สีเหลือง เป็นต้น สำหรับย้อมผ้า เรียก น้ำย้อม. -
น้ำหน้า
แปลว่า : หน้าตา ใช้ในทางเหยียดหยามก็มี เช่น น้ำหน้ามึงเฮ็ดอิหยังบ่แล้วดอก สมน้ำหน้ามันแด่บักนี้. -
น้ำหมอก
แปลว่า : น้ำค้างโบราณเรียก น้ำหมอก น้ำเหมือย ก็ว่า เรียก ทุมพร เหมือย หมอก นาย ก็มี อย่างว่า มีแต่เหมือยหมอกย้อยฮำพั้วกลิ่นกระจวน (สังข์) ทุมพรเหมือยมืดมุงเมือฟ้า (สังข์) ขัวนัวเหมือยหมอกนายนงข้อน (กา). -
น้ำหมาก
แปลว่า : ชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง เกิดตามดินเพียง หลังมีสีแดงคล้ายน้ำหมาก ใช้กินเป็นอาหารได้ เรียก เห็ดน้ำหมาก. -
น้ำหมาก
แปลว่า : น้ำลายสีแดง เป็นน้ำลายของคนเคี้ยวหมากถ่มออกมา เรียก น้ำหมาก.