ภาษาอีสานหมวด "น" 151 - 160 จาก 476

  • น้ำหาง
    แปลว่า : ชาด ชาดที่มีสีแดง เรียก น้ำหาง น้ำหางนี้ใช้ทาทับพื้นหลังทาน้ำเกี้ยงแล้ว เพื่อทำให้เครื่องใช้มีสีสดสวยงดงามขึ้น.
  • น้ำอบ
    แปลว่า : น้ำที่อบด้วยควันกำยานหรือเทียนอบ และปรุงด้วยเครื่องหอม เรียก น้ำอบ.
  • น้ำออกบ่อ
    แปลว่า : น้ำที่เกิดจากตาน้ำเล็กๆ ไหลซึมออกมาขังเป็นแอ่ง ตามหาดทราย ตามริมฝั่งแม่น้ำ ตามทุ่งนา เรียก น้ำออกบ่อ.
  • น้ำอ้อย
    แปลว่า : น้ำหวานที่ได้จากต้นอ้อย ถ้าทำเป็นแผ่นกลมๆ เรียก น้ำอ้อยงบ ถ้าทำเป็นผงละเอียดแล้วปั้นเป็นก้อน เรียก น้ำอ้อยก้อน ถ้าทำเป็นผงละเอียดแต่ไม่ติดกันเรียก น้ำตาลทรายแดง.
  • นิคม
    แปลว่า : หมู่บ้านใหญ่ เรียก นิคม อย่างว่า ยังมีนัคเรศล้ำชั้นชื่อเป็งจาล นิคมคนคั่งเพ็งพอตื้อ เชียงหลวงล้นรุงรังล้านย่าน น้ำแผ่ล้อมระวังต้ายชั่วพัน (สังข์).
  • นิโครธ
    แปลว่า : ต้นไทร (ป.) ต้นไทรเรียก ต้นนิโครธ ต้นไฮ ก็ว่า อย่างว่า เห็นทังนิโครธค้อมใบบ้างแบ่งบาน (กา) คือคู่นิโครธค้อมแคมท่าชลาไหล คองว่าวายวันคืนบ่เป็นไปได้ (สังข์).
  • นิติกรรม
    แปลว่า : การกระทำโดยเจตนาให้ตรงตามกฎหมาย.
  • นิทเน่ง
    แปลว่า : นอน นอนหลับ อย่างว่า ท้าวกล่าวแล้วนิทเน่งเนานอน (กา) มีนานพร้อมเนานอนนิทเน่ง เดือนด่วนข้วมเขาเฮี้ยฮุ่งมา (สังข์) เสนาท้าวทังหลายนิทเน่ง บางพ่องกลั้นกวั่งไห้แสนชั้นแสบสมอง (ฮุ่ง).
  • นิทาน
    แปลว่า : เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดกเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติต่างๆ และนิทานใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวนิยาย อย่างว่า ยุติประถมบั้นนิทานธรรมเถ้ากล่าว แล้วท่อนี้ถวายไว้ที่ยำ ก่อนแล้ว (สังข์).
  • นินทา
    แปลว่า : คำติเตียนลับหลัง เรียก นินทา อย่างว่า นินทาเฮื้องเจราสับส่อ เป็นดั่งคนถอกน้ำเทถิ้มอย่าถือ (บ.).