ภาษาอีสานหมวด "ป" 241 - 250 จาก 753
-
ปั๊วะ
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงตบหูขังข้อดังปั๊วะ. -
ปัสจาก
แปลว่า : ปราศจาก อย่างว่า พี่ก็มาวอนน้องใจจางปัสจาก (สังข์). -
ป้า
แปลว่า : พี่สาวของพ่อหรือแม่ เรียก ป้า เมียของลุงเรียก ป้า. -
ปาก
แปลว่า : ชื่อปลาเกล็ดชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปลาตะเพียน อย่างว่า มีทังปลาปกแลปลาปาก ปลาชะนากแลเลียนไฟ มังกรไขแกมขี้แข้ (เวส). -
ปาก
แปลว่า : ช่องสำหรับกินอาหาร เรียก ปาก อย่างว่า ทุกข์คอบปาก ยากคอบท้อง เคยแล้วอยู่บ่เป็น (ภาษิต) เครื่องมือสำหรับเขียนหนังสือเรียก ปากกา ปากไก่ ก็ว่า ต้นทางเข้าออกเรียก ปากทาง. -
ปาก
แปลว่า : พูด เจรจา อย่างว่า ปากก่อนกวน ขานก่อนเข้า คะลำปากพ้นตัว หัวพ้นเพื่อน คะลำ (ภาษิต). -
ปากกืก
แปลว่า : ใบ้ คนเป็นใบ้ เรียก คนปากกืก พูดไม่เป็นภาษา ต้องใช้ไม้หรือมือแทนคำพูด. -
ปากเกลี้ยง
แปลว่า : พูดประจบสอพลอ เรียก ปากเกลี้ยง อย่างว่า ทุกข์ให้เลี้ยง ปากเกลี้ยงให้ไล่หนี (ภาษิต) ปากเกลี้ยงเว้าเป็น หีเหม็นเว้าม่วน (ภาษิต) คนใดฮู้ปากเกลี้ยงเว้าม่วนมีผญา คันเอามาในเฮือนไพร่ครองความไฮ้ กูสอนไว้ยาดลดาประมาท แม่นว่าหลับตื่นให้คนิงฮู้คู่ยาม ลูกเอย (สังข์). -
ปากบ่ถ้อง
แปลว่า : พูดไม่ชัดเจน เกิดเพราะลิ้นไก่สั้น พูดตัว ต เป็น ถ เป็นต้น เรียก ปากบ่ถ้อง. -
ปากบอน
แปลว่า : ปากไม่เป็นสุข เดี๋ยวพูดเรื่องคนนั้นแล้วพูดเรื่องคนนี้ เรียก ปากบอน.