ภาษาอีสานหมวด "ป" 351 - 360 จาก 753

  • เปรียบ
    แปลว่า : เอาของตั้งแต่สองขึ้นไปมาเทียบกันเรียก เปรียบ อย่างว่า นับแต่บุรีล้ำนครคนใดเปรียบ โฮงใหญ่กว้างออระทึ้มผ่านเชียง (สังข์).
  • เปล่า
    แปลว่า : ว่าง ไม่มี เช่น หีบไม่มีของเรียก หีบเปล่า แต่งงานแล้วไม่ได้ลูกเรียก พ่อเปล่า แม่เปล่า พ่อเว่า แม่เว่า ก็ว่า อย่างว่า แล้วล่ำเยี้ยมแปนเปล่าเลยกระสันกุมภัณฑ์เสวยโภชคาคือง้วน ชลธาเท้าสองแคมคือสีก กระสันเกี่ยวแก้วกือล้านลูบทวง (สังข์).
  • เปล้า
    แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวขนาดนกเขาตู้สีเขียวอ่อน เรียก นกเปล้า อย่างว่า เปล้าป่าวไม้มุมผู้เผ่นผาย (กา) น้องนี้เป็นดั่งเชื้อนกเปล้าคองถ้าแต่หมากไฮ (สังข์).
  • เปลี้ย
    แปลว่า : เตี้ย ง่อย คนเตี้ยและเป็นง่อยไปไหนมาไหนไม่ได้ เรียก คนเปลี้ย คนง่อย ผักกะโดนเตี้ย เรียก ผักกะโดนเปลี้ย.
  • เปลี่ยน
    แปลว่า : แลก แปลง ยักย้าย การเปลี่ยนแปลงยักย้าย เรียก เปลี่ยน เผี่ยน ก็ว่า อย่างว่า ตกแต่งเฝ้าแสนชั้นเปลี่ยนยาม (สังข์).
  • เปลี่ยว
    แปลว่า : โดดเดี่ยว เดียวดาย อย่างว่า บัดนี้วางเวนไว้ตนเดียวอยู่เปลี่ยว (กา).
  • เปลือง
    แปลว่า : หมด สิ้น สิ่งซึ่งใช้ไปให้หมดสิ้นไป เรียก เปลือง อย่างว่า เปลืองแฮงสูบ่าวขุนมาต้าน (ฮุ่ง).
  • เปลื้อง
    แปลว่า : ปลด ปล่อย ทิ้ง เอาออก อย่างว่า พระก็ฮักเก่าไว้เปลื้องไป่วางไป (สังข์).
  • เปลือย
    แปลว่า : ชีที่ไม่นุ่งผ้าเรียก ชีเปลือย เปลือยกายเรียก ปะโต อย่างว่า ลางคนลืมแพรผ้าปะโตเต้นแล่น (ผาแดง).
  • เปลือย
    แปลว่า : ต้นตะแบก เรียก ต้นเปลือย มี ๒ ชนิด ชนิดที่เกิดตามป่าเรียก เปลือยโคก ชนิดที่เกิดริมน้ำเรียก เปลือยน้ำ.