ภาษาอีสานหมวด "ป" 371 - 380 จาก 753
-
เปือง
แปลว่า : เร็ว รีบ ด่วน อย่างว่า วันนี้กูจักดาศรใช้ปุนเปืองไปป่าว ให้พ่อเตรียมหมู่ไว้วันหน้าจิ่งคอย พ่อเอย (สังข์). -
เปื่อย
แปลว่า : ขาด ผุพัง อย่างว่า ต้มหอยบ่เปื่อยก้าง ต้มช้างบ่เปื่อยงา ต้มปลาบ่เปื่อยเงี่ยง (บ.). -
เปือะ
แปลว่า : ทา ฉาบ ดินที่ทาหรือฉาบเรียก ดินเปือะ ฉาบเล้าเรียก เปือะเล้า. -
แป
แปลว่า : ไม้เครื่องเรือนที่วางบนจันทันสำหรับกลอนพาด. -
แป
แปลว่า : แบน. -
แป่
แปลว่า : ทำลาย รื้อ อย่างว่า มันก็ทำแป่ม้างกระดานกลิ้งเกลื่อนลง (สังข์). -
แป้
แปลว่า : ลักษระของสิ่งของที่เล็ก เช่น แป้ใส่เหล้าเรียก แป้เหล้า กล่องข้าวที่ไม่มีตีนเรียก กล่องเข้าแป้. -
แปก
แปลว่า : คล้าย เหมือน อย่างว่า อันหนึ่งบุตตาให้ฮามนมนานยิ่ง รือเล่าทำเพศเอ้กระบวนแป้แปกสาว (สังข์) บาศรีพร้อมเสนาย้ายย่าง ดีแต่นกเฮ่งฮ้องเสียงแป้แปกลาง (ฮุ่ง). -
แป่ง
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงเคาะโลหะบางๆ ดังแป่ง. -
แป้งเข้าหมาก
แปลว่า : แป้งที่มีเชื้อสำหรับทำข้าวหมาก เรียก แป้งเข้าหมาก สำหรับทำเหล้า เรียก แป้งเหล้า.