ภาษาอีสานหมวด "ป" 411 - 420 จาก 753

  • โปงไม้
    แปลว่า : โปงที่ทำด้วยไม้เรียก โปงไม้ มี 2 ชนิด คือชนิดเล็ก ทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้แก่นกลึงให้มีรูปร่างคล้ายกระดิ่ง มีรูแพสองข้าง ลูกอยู่ข้างในก็มี ภายนอกก็มี ถ้าอยู่ภายนอกจะเป็นสองลูกห้อยขนาบสองข้าง ใช้แขวนคอวัว ควาย และชนิดใหญ่ทำด้วยไม้แก่นรูปกลม ยาว ๔ ศอกขึ้นไป เส้นผ่าศูนย์กลางศอกคืบ มีรูแพสองข้าง มีหูสำหรับสอดไม้แขวนไว้ ข้างในเป็นโพรง พระสงฆ์ใช้ตีตอนเช้าในเวลาจะออกไปบิณฑบาตร เรียก ถั่งโปงเช้า.
  • โปงลาง
    แปลว่า : โปงที่หล่อด้วยทองรูปร่างคล้ายกระดิงแต่ใหญ่กว่า เรียก โปงลาง ใช้แขวนคอช้าง และต่าง คนโบราณชอบเลี้ยงช้างแต่ปล่อยไว้ในป่า เดือนหรือสองเดือนจึงไปดูครั้งหนึ่ง จึงผูกโปงลางไว้ให้ได้ยินเสียง นายฮ้อยพ่อค้าวัวควายที่ต้อนไปขายในภาคกลางก็แขวนโปงลางนี้กับวัวควาย ทำรางแขวนสองลูกเรียกว่า ปางลาง โปงลาง ก็ว่า.
  • โปงเหล็ก
    แปลว่า : โปงที่ใช้หล่อด้วยเหล็กมีขนาดเล็กมีรูปร่างลักษณะเหมือนโปงไม้ไผ่ ใช้สำหรับแขวนคอวัวควาย เรียก โปงเหล็ก.
  • โปด
    แปลว่า : ผ้าที่เปื่อยยุ่ย เรียก ผ้าโปด ผ้าโหยด ก็ว่า.
  • โปด
    แปลว่า : หลั่งไหลไปเรียก โปด อย่างว่า นโมโตดโหยดแม่ออกโปดมาฟัง แกะขี้ดังให้ผู้ละก้อน ผู้มาก่อนได้หลาย ผู้มาลุนได้น้อย แม่เถ้าจ้อยนำก้นบ่ได้สัง (บ.).
  • โปดก
    แปลว่า : ลูกน้อย ลูกสัตว์ (ป.).
  • โป่ม
    แปลว่า : มาก เติบ เช่น กินข้าวน้อยกินกับมากเรียก กินโป่ม.
  • โปโล
    แปลว่า : พ้น เกิน สิ่งที่ดีกว่าเจริญกว่า เรียก โปโล อย่างว่า คึดต่อพี่เป็นกี่ดี่ คึดต่อน้องเป็นล้องค้อง คึดต่อโตเป็นโปโล้พ้นเพื่อน (ภาษิต).
  • ไป
    แปลว่า : เคลื่อนไป เดินไป อย่างว่า ให้แต่งช้างม้ามิ่งพลแพน ญิงชายในนครขวางป่าวปุนไปพร้อม คนการใช้พอแสนคาดเครื่อง แผ้วแผ่นเท้าทางกว้างฮาบงาม (สังข์).
  • ไป่
    แปลว่า : ไม่ ไม่มีเรียก ไป่มี อย่างว่า ท่อไป่มีเผ่าเชื้อพระเยียยอดเทวี เป็นพระยาโทนอยู่เนานอนแล้ง (สังข์).