ภาษาอีสานหมวด "ป" 441 - 450 จาก 753

  • เปี่ยงเผิ้ง
    แปลว่า : ผึ้งที่ปั้นเป็นแผ่น
  • โป่ม
    แปลว่า : ข้าวคำใหญ่
  • เป็นตาซังคัก
    แปลว่า : น่าเกลียดมาก
  • เป็นตาหน่าย
    แปลว่า : น่าเบื่อ
  • ปลากระเดิด
    แปลว่า : ปลากระดี่ ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas)] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther)] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker)] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด
  • ปางฮาด
    แปลว่า : ม้าพั่ว เครื่องตีประกอบกลองคล้ายฆ้องแต่ไม่มีปุม เวลาตีจะมีเสียงดังพ่างพ่าง
  • ป้านคันแท
    แปลว่า : ทำคูนา
  • ปั้นคันแท
    แปลว่า : ทำคูนา ขุดดินให้เป็นคันนา
  • โปด
    แปลว่า : ตกลงมาด้วยกัน สิ่งของที่อยู่ติดกัน เวลาตกลงหรือทรุดลง จะลงมาด้วยกันคราวละมาก ๆ หรือยาว ๆ
  • ปลาฝา
    แปลว่า : ตะพาบ, ตะพาบน้ำ ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Trionychidae กระดองไม่มีเกล็ดเป็นแผ่นหนังอ่อนนิ่มมีเชิงแผ่กว้าง หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว บางชนิดจมูกสั้น ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย ชนิดที่พบมาก ได้แก่ ตะพาบสวน [ Amyda cartilageneus (Boddaert)] ชนิดที่พบน้อย ได้แก่ ม่านลาย ( Chitra chitra Nutphand), กริว กราว หรือ ปลาฝา ก็เรียก, ปักษ์ใต้ เรียก จมูกหลอด.