ภาษาอีสานหมวด "ผ" 161 - 170 จาก 422

  • ผีหมอบ
    แปลว่า : กระทืบยอบ ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นผีหมอบ.
  • ผีหลอก
    แปลว่า : คนที่ตายไปแล้วเที่ยวหาหลอกคนให้ตกใจกลัว เรียก ผีหลอก อีกอย่างหนึ่ง หมายถึงคนที่เที่ยวหลอกหลอน ต้มตุ๋นเอาทรัพย์สินของคนอื่น ก็เรียก ผีหลอก เช่นกัน.
  • ผี่ห่า
    แปลว่า : โรคระบาดชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นบ้านเมืองใดจะคร่าเอาชีวิตของคนตายเป็นจำนวนมาก เรียก โรคห่า ผีที่เกิดแทรกซ้อนเพราะโรคนี้เรียก ผีห่า.
  • ผีหุง
    แปลว่า : ผีตายโหงเรียก ผีหุง เช่น ถูกฆ่า ฟ้าผ่า ตกต้นไม้ ควายชน ตกรถ ตกเรือ ตกเรือบิน ฆ่าตัวตาย คนตายดังกล่าวมาโบราณถือเข็ดขวาง ห้ามไม่ให้เผา อย่างว่า แต่นั้นผีหูงเข้าสูญใจบาบ่าว (ขูลู).
  • ผีเฮ็ด
    แปลว่า : แกล้งทำ เช่น ไม่เจ็บแกล้งทำเป็นเจ็บ ไม่ไข้แกล้งทำเป็นไข้ เรียก ผีเฮ็ด อีกอย่างหนึ่ง คนที่ผีเข้าเจ้าสูญ เพราะล่วงเกินจารีตประเพณีเรียก ผีเฮ็ด คนที่เคารพนับถือหรือผู้เถ้าผู้แก่หรือนับถือผี จะมีอายุยืน อย่างว่า ยำผีเถ้า ยำเจ้ายืน (ภาษิต).
  • ผีเฮือน
    แปลว่า : โบราณอีสานกล่าวว่า เฮือนมีผี กฏีมีพระ ผีเฮือนโบราณหมายถึงพ่อแม่ พ่อแม่มีหน้าที่และอำนาจสูงสุดภายในเรือน จะให้คุณและให้โทษแก่คนภายในบ้านเรือนอย่างไรก็ได้ พ่อแม่จึงเปรียบเสมือนเป็นผีเฮือน หากพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ คนภายนอกคือผีป่าจะมาแทรกแซง ทำให้พ่อแม่ลูกแตกเจ็บจากกัน.
  • ผี่
    แปลว่า : ชื่อลำห้วยแห่งหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในวรรณคดีอีสานเรื่อง คชนาม กล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นช้างชื่อ คชนาม เมื่อคชนามพาแม่ไปตามหาพ่อถึงสถานที่แห่งหนึ่งแล้วหยุดพักขุดเอาเผือกมัน แม่ถูกยักษ์ทำร้าย คชนามต่อสู้กับยักษ์ได้ชัยชนะ ยักษ์จึงให้ขุมคำที่ตนเฝ้ารักษาแก่คชนาม (บ้านขุมคำยังมีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน) คชนามได้คำก็หาบมาจนถึงลำห้วยแห่งหนึ่งจึงเปิดดู ห้วยนั้นชื่อห้วยผี่ คำว่าผี่คนสมัยใหม่ไม่เข้าใจจึงเปลี่ยนเป็นห้วยทีจนบัดนี้.
  • ผี่
    แปลว่า : คลี่ออก เรียก ผี่ออก เปิดออกเรียก ผี่ออก เช่น ผี่ตา เป็นต้น.
  • ผีก
    แปลว่า : ปลีกหรือหลีก เรียก ผีก อย่างว่า ทวายทองเค้าคณาหลวงเหลียวผ่อ มอมม่ายเต้นตามผู้ผีกไกล (สังข์).
  • ผีก
    แปลว่า : ปลีกหรือหลีก เรียก ผีก อย่างว่า ทวายทองเค้าคณาหลวงเหลียวผ่อ มอมม่ายเต้นตามผู้ผีกไกล (สังข์).