ภาษาอีสานหมวด "ฝ" 51 - 60 จาก 121
-
ฝี
แปลว่า : โรคจำพวกหนึ่ง เป็นต่อมปูดขึ้นตามร่างกาย กลัดหนองข้างใน เรียก ฝี มีหลายชนิด. -
ฝิง
แปลว่า : ผิง ผิงแดด เรียก ฝีงแดด ผิงไฟเรียก ฝีงไฟ อย่างว่า จงค่อยพากันเหล้นฮิมเฮือนฝีงแดด (เวส-กลอน). -
ฝีแฝด
แปลว่า : ฝาแฝด กล้วยที่ติดกันเรียก กล้วยฝีแฝด ลูกที่คลอดออกมาครั้งละสองคนขึ้นไป เรียก ลูกฝีแฝด. -
ฝืด
แปลว่า : ไม่คล่อง ไม่สะดวก. -
ฝุง
แปลว่า : ชุน ซ่อมผ้าหรือแหเป็นต้นที่ขาดทะลุเป็นรูให้เป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยการถักหรือด้วยวิธีอื่น ๆ ชุนแหที่ขาดเรียก ฝุงแห ชุนสวิงที่ขาดเรียก ฝุงหวิง ชุนน่างที่ขาดเรียก ฝุงน่าง. -
ฝุ่น
แปลว่า : ปุ๋ย ปุ๋ยหมักขี้วัวขี้ควาย ต้นไม้ใบหญ้าทุกชนิด เรียก ฝุ่น ขี้ฝุ่น ก็ว่า อย่างว่า หาบฝุ่นใส่นาขุน (ภาษิต). -
ฝูง
แปลว่า : พวก หมู่ เหล่า อย่างว่า ฝูงแกว่นใกล้เฮียกฮ่ำโฮมขวัญ เซ็นเซ็นชลธาไหลท่าวเททังเยื้อน แท้งหนึ่งคำเถิงไท้เทวีพลันฮอด หน้าบ่าเบื้อทังให้หอดหิว (สังข์). -
เฝ้า
แปลว่า : ระวัง รักษา ดูแล อย่างว่า เฮียมนี้เป็นดั่งมดแดงเฝ้าอัมพามี้ม่วง กินกะกินบ่ได้คอยเฝ้าตั้งแต่ใบ (ภาษิต). -
เฝิก
แปลว่า : ฝึก ฝึกสอนลูกหลานให้มีความรู้ความประพฤติดี เรียก เฝิกลูกเฝิกหลาน ฝึกวัวควายให้เป็นคาดเป็นไถ เรียก เฝิกงัวควาย. -
เฝียด
แปลว่า : เฉียด ใกล้ ชิด อย่างว่า วาเยศยู้ไหลฝ้าเฝียดดอย (สังข์).