ภาษาอีสานหมวด "พ" 171 - 180 จาก 663
-
พลายพอน
แปลว่า : ช้างเผือก เรียก พลายพอน อย่างว่า อันว่ากุญชรช้างพลายพอนตัวประเสริฐ (เวส-กลอน). -
พลายวัน
แปลว่า : ช้างที่รบข้าศึกชนะ ไม่มีแพ้ เรียก ช้างพลายวัน อย่างว่า ภูวนาถขึ้นช้างผาบพลายวัน เฮืองเฮืองดาวมณีมาศมุงเมือท้าย ทุกประดาเล้มลำงาปล้องถี่ แก้วก่ายข้อแขวนล้นเลียบฮาว (สังข์). -
พลายสาร
แปลว่า : ช้างตัวผู้เรียก พลายสาร อย่างว่า กุญชรช้างพลายสารเกิดอยู่ป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองกว้างกล่อมขุน (ย่า) นับแต่พังพลายได้พอพันช้างถ่าว ม้าเครื่องเค้าพันผู้แม่งาม (สังข์). -
พลาหก
แปลว่า : เมฆ ฝน (ป.). -
พลิก
แปลว่า : กลับ เปลี่ยน เปลี่ยนหน้าเป็นหลัง เรียก พลิก คว่ำ ก็ว่า อย่างว่า เยียวว่าเมืองมัวเขาปิ่นแพนพลิกค้าง (ฮุ่ง). -
พลิกแพลง
แปลว่า : สับปลับ กลับกลอก เช่น พูดพลิกแพลง. -
พลินัท
แปลว่า : โคผู้ (ป. พลิวทฺท). -
พลี
แปลว่า : การบวงสรวง การเลี้ยงผี การผอกผี เรียก พลีกรรม อย่างว่า ควรที่เจ้าติ่วช้างพลีขึ้นเคลื่อนมัน พระเอย (สังข์). -
พลี
แปลว่า : มีกำลัง (ป.). -
พลี
แปลว่า : เลี้ยงผี ผอกผี การบนวงสรวงผี เรียก พลีผี อย่างว่า หมอบอกให้ตั้งแต่งพลีหลวง วานเทพาฝ่ายเฮาเชียงน้อม บัดนี้อวนกูข้วมเวหาหลายหลั่น มาโผดท้าวธรรม์อ้างแผ่นเพียง นี้แล้ว (สังข์).