ภาษาอีสานหมวด "พ" 21 - 30 จาก 663

  • เพี้ย
    แปลว่า : น้ำย่อยที่อยู่ภายในลำไส้อ่อนของคนและสัตว์ เรียก ขี้เพี้ย.

  • แปลว่า : เป็นพยัญชนะพวกอักษรต่ำ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ภพ ภาพ สรรพ.
  • พก
    แปลว่า : กระเพาะอาหารเรียก พกขี้ กระเพาะปัสสาวะเรียก พกเยี่ยว ริมผ้านุ่งที่รวบมาเหน็บไว้ข้างหน้าเพื่อบรรจุสิ่งของเรียก พกผ้า.
  • พก
    แปลว่า : นกยาง (ป.).
  • พง
    แปลว่า : ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ๆ เรียก พง พงไพร ก็ว่า อย่างว่า พงไพรฮกมืดมุงเป็นมุ้ง (กา).
  • พงศ์
    แปลว่า : เชื้อสาย เทือกเถา เหล่ากอ สกุลคนที่เกิดในเชื้อสายเดียวกันเรียก พงศ์ อย่างว่า ชื่อว่ากุมภัณฑ์ท้าวพงศ์พันธุ์พระยาเวส มันก็อุ้มแก่นแก้วกลายข้อยแปดปี นี้แล้ว (สังข์).
  • พงศ์เชื้อ
    แปลว่า : คนที่เกิดแต่บรรพบุรุษเชื้อเดียวกันเรียก พงศ์เชื้อ อย่างว่า จบเพทด้วยมนต์มากยายำ เทิงธรณีใผไป่ปุนปานเพี้ยง เป็นพงศ์เชื้อเวสสุวัณเทวราช พระให้ถือด่านด้าวเป็นเจ้าแห่งผี (สังข์).
  • พงศ์พันธุ์
    แปลว่า : คนที่เกิดในเทือกเถาเหล่ากอเดียวกัน เรียก พงศ์พันธุ์ อย่างว่า เทื่อนี้พ่อเบิกเว้นเวียงใหญ่พลอยผาง นี้แล้ว พงศ์พันธุ์เดียวเปล่าปุนแปนข้าง วันคืนฮู้เสียงชะนีฮ้องฮ่ำ ขวัญอ่อนแก้วกำพร้ายาย้านหล่าหลง แด่เนอ (สังข์).
  • พงศา
    แปลว่า : ผู้มีชาติสกุล (ส.).
  • พงศาวดาร
    แปลว่า : เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากาตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น.