ภาษาอีสานหมวด "พ" 211 - 220 จาก 663
-
พะลาน
แปลว่า : ข่วง สนาม บริเวณ อย่างว่า เถิงแห่งห้องสวนกว้างช่วงพะลาน (สังข์). -
พะลึก
แปลว่า : หนา แน่น อย่างว่า ควันพะลึกเพี้ยงไฟผางเผาโลก มารมืดกุ้มหาญห้าวหิ่งเนือง (สังข์). -
พะเวพะวัง
แปลว่า : อาการหนาวๆ ร้อนๆ ดุจเป็นไข้ อย่างว่า อันหนึ่งพะเวพะวังไข้ในคีงหนักหน่วง (ฮุ่ง). -
พัก
แปลว่า : ชั้น หลั่น เรือนหลายชั้นหลายหลั่น เรียก เฮือนหลายพัก. -
พัก
แปลว่า : สักครู่ อย่างว่า ถักถั่นฟ้าซางช่อเขียวนิล พุ้นเยอ ทังเมืองพักสั่งลาลงห้อง นรินทร์ท้าวแถนลอให้กล่าว เขียนซู่ห้องไปเช้าแต่งครัว (ฮุ่ง). -
พัง
แปลว่า : ช้างตัวเมีย เรียก ช้างพัง อย่างว่า นับแต่พังพลายได้พอพันช้างถ่าว ม้าเครื่องเค้าพันผู้แม่งาม (สังข์). -
พัง
แปลว่า : ทลาย หัก. -
พังพอน
แปลว่า : สัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง คล้ายกระรอก แต่โตกว่า เรียก พังพอน จอนฟอน ก็ว่า อย่างว่า ครุฑบ่อ้างเอานาคเป็นผิด ฟังคำสอนสอดแสวงหวังเว้น พังพอนเว้นวางงูคลายเขียด กาก่องเค้าเฮียงเกี้ยวกล่อมฮัง (สังข์). -
พัด
แปลว่า : โบก กระพือ หมุน อย่างว่า ลมพัดต้องใบใผ่ให้เหลียวแล ลมพัดต้องใบแกให้เหลียวล่ำ ลมพัดต้องใบพร้าวให้ต่าวคืน (ผญา). -
พัน
แปลว่า : ม้วน รัด เช่น ม้วนสาดเรียก พันสาด ม้วนเสื่อเรียก พันเสื่อ ม้วนฟูกเรียก พันฟูก.