ภาษาอีสานหมวด "พ" 231 - 240 จาก 663
-
พับ
แปลว่า : หยุดพักเรียก พับ อย่างว่า แม้งหนึ่งไย่ไย่ม้าพับจอดจำเวียง (ฮุ่ง). -
พั้ว
แปลว่า : กลุ่ม พวง ช่อ พวงดอกไม้เรียก พั้วดอกไม้ อย่างว่า บานหลายพั้วพวงเครืองวงสุ่ม (ผาแดง) กาสะทึงทังดอกกลมแกมพั้ว (ฮุ่ง) เล็มกินพั้วพวงพันภายฮอก (สังข์) ออกจากพั้วพวงแก้วนั่งเนา (กาไก). -
พา
แปลว่า : พาสำรับ พาสำรับเรียก พาเข้า ภา ก็ว่า พาสำหรับกินตอนเช้าเรียก พาเข้างาย พาสำหรับกินตอนเที่ยงเรียก พาเข้าสวย พาสำหรับกินตอนเย็น เรียก พาเข้าแลง อย่างว่า พอประมาณเมี้ยนพาแลงแล้วอย่า น้ำหล่อเหล้าเพ็งแล้วกล่าวนาย (ฮุ่ง) ค้อมว่าแล้วถวายโภชพาคำ (สังข์). -
พา
แปลว่า : นำไป นำไปเรียก พา อย่างว่า พานางเข้าดงเลาหลายเหล่า ทางเก่าเกี้ยวหลายเที้ยวเที่ยวมา (กลอน). -
พาก
แปลว่า : โรคห่า ชื่อโรคระบาดร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดแก่คนเรียก พากกินคน เกิดแก่วัวควาย เรียก พากกินงัวควาย. -
พากพา
แปลว่า : พญาช้างดำ ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นพากพา. -
พากเพียร
แปลว่า : หมั่น ขยัน ทนทำไป อย่างว่า ท่อหากประสงค์สามน้อยกุมารเพียรพาก (สังข์). -
พากย์
แปลว่า : คำพูด ภาษา (ป.) อย่างว่า เมื่อนั้นท้าวใหญ่ฮู้ฮับพากย์เทโว พงศ์พันธุ์ยังอยู่คงครบหน้า (สังข์). -
พาง
แปลว่า : เพียง เท่า อย่างว่า มีของถวายแต่พางพอฮู้ (สังข์). -
พ่าง
แปลว่า : ใกล้ ชิด ใกล้ชิดเรียก พ่าง อย่างว่า บ่ห่อนมีญิงซ้อนเทียมสองเฮียงพ่าง นางคราญน้อยเทียมพาเฮียงพ่าง (กาไก).