ภาษาอีสานหมวด "พ" 251 - 260 จาก 663

  • พาน
    แปลว่า : พัด ปะทะ เช่น ลมพัดเรียก ลมพาน อย่างว่า แล้วเบี่ยงผ้าผายสู่ซองคำ ฟังยินลมพานพัดฟาดเฮียวไฮซ้าย ดาราแจ้งจรบนเบยเมฆ ฟ้าสว่างด้าวโดยใต้ยื่นยวง (สังข์) คือดั่งลมล่วงต้องพานพื้นแผ่นไตร (กาไก).
  • พาบ
    แปลว่า : ครั้ง คราว อย่างว่า โลกบ่ห่อนแต่งตั้งญิงพาบสองผัว (บ.) ศรีคราญพระพาบแลงเลยแล้ว (กาไก).
  • พาบ
    แปลว่า : พร้อมกัน ควบกัน อย่างว่า บัวนางเหน้าเฮือนหลวงไหลฮอด พร้อมพาบเมี้ยนเมือห้องคั่งคาม (สังข์) บุญขวางไท้ลีลาลงอาบ แล้วเลิกขึ้นเสมอพร้อมพาบงาย (สังข์).
  • พาย
    แปลว่า : ไม้พาย ไม้พายสำหรับพายเรือ เรียก พาย ไม้พาย อย่างว่า เป็นดั่งพายจุ่มน้ำดายดู้มบ่จวบสัง นั้นแล้ว (สม).
  • พาย
    แปลว่า : ลมเรียก พาย พระพาย พายุ ก็ว่า อย่างว่า ผ่อเห็นเมฆยั่งย้ายโดยเพศหงส์เหิน พุ้นเยอ พระพายพานสูรล่วงเมิลเมือซ้าย นับแต่ภูมีได้เทวีทังแปด พระก็ฮักยิ่งเพี้ยงเสมอแท้ซู่นาง (สังข์).
  • พาย
    แปลว่า : สะพาย สะพายย่ามเรียก พายถง สะพายข้องเรียก พายข้อง อย่างว่า ตกหมู่ขุนช่อยขุนเกือม้า ตกหมู่ข้าช่อยข้าพายโซน ตกหมู่โจรช่อยหามไหเหล้า (ภาษิต).
  • พ่าย
    แปลว่า : หนีไป แตกไป อย่างว่า ตีนทำต้องหีนหลวงพังพ่าย (สังข์) เฮาจักชิงลวงท้าวแถนลอให้พ่าย เมื่อนั้นเจ้าติ่วซ้อยถามฮ่างแถนมา (ฮุ่ง).
  • พายโซน
    แปลว่า : สะพายย่ามหรือเป้ขนาดใหญ่เรียก พายโซน เป็นธรรมเนียมของชาวเขาเผ่าต่างๆ จะไปไหนมาไหนต้องมีย่ามใหญ่ใช้สะพายไป อย่างว่า ตกหมู่ข้าช่อยข้าพายโซน (ภาษิต) ยายยาบข้าหลายหมื่นพายโซน จอมค่อยวางคีงเลยเลื่อนตามตนท้าว หมอโหรให้หายามมื้อปลอด เขาก็ชูง่ามเจ้าเมือช้างม่านวัง (ฮุ่ง).
  • พายสง
    แปลว่า : เพชรกัน ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง เรียก เครือพายสง อย่างว่า เฮียมนี้เทียมดั่งปลาเข็งข้อน หนองนาน้ำเขินขาดฝนบ่มาโผดให้ชิตายแล้งแดดเผา คึดต่อดอกขัดเค้าบานอยู่กลางดง คึดต่อเครือพายสงเล่าบ่มีลำเกี้ยว (ผญา).
  • พายัพ
    แปลว่า : ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียก ทิศพายัพ อย่างว่า ครุฑก้เนาอยู่ยั้งหนแห่งบูรพา อาคเณย์แมวอยู่เฝือแฝงฝั้น ทักษิณก้ำราชสีห์แหนแห่ บักเค้าเม้านั่งเฝ้าหรดี ปัจฉิเมนาคเกี้ยวพันดอน พายัพก้ำโคจรหนูอยู่ อุดรช้างพลายสารล้านเถื่อน เลื่อนเลื่อนงัวแม่ง้องกินหญ้าฝ่ายอีสาน (โสกตัวเพิ่ง).