ภาษาอีสานหมวด "พ" 311 - 320 จาก 663

  • พึง
    แปลว่า : หมู่ เหล่า ฝูง พวก อย่างว่า เมื่อนั้นพึงคณาเนื้อทังแดนโดยอาชญ์กับทังครุฑนาคท้าวพระกายเปลื้องเป่งไป (สังข์).
  • พึง
    แปลว่า : พังพาน งูแผ่พังพานเรียก งูพึงคอ.
  • พึ้งวึ้ง
    แปลว่า : หูช้างที่แผ่กางออก เรียก ชันพึ้งวึ้ง.
  • พึบ
    แปลว่า : เสียงกระพือปีกของนก.
  • พึบพึบ
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงจุดชนวนบั้งไฟแสนบั้งไฟหมื่น ดังพึบพึบ อย่างว่า พึบพาบไหม้เมืองท้าวเปล่าแปน (กาไก).
  • พึ้ม
    แปลว่า : ผีภูเขา ผีภูเขาเรียก ผีพึ้ม อย่างว่า เมื่อนั้นภูมิสถานพึ้มผาหลวงหลิงเหตุ (สังข์).
  • พืด
    แปลว่า : แผ่นหินที่ติดเนื่องกันไปยาวยืดเรียก พืดหิน.
  • พืน
    แปลว่า : แผ่ขยายออกไป เช่น ต้นไม้ที่ปลูกแล้วแผ่ออกไปเรียก พืน แผ่พืน ก็ว่า.
  • พื้น
    แปลว่า : สิ่งสำหรับรองรับเรียก พื้น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นน้ำ.
  • พื้น
    แปลว่า : ประวัติ ตำนาน นิทาน เช่น นิทานพื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวพื้นท้าวใหญ่เจืองหาญ สมภารเพ็งไพร่พลยอย้อง ปางนั้นจอมเปืองสร้างสวนตาลเป็นใหญ่ เซ็งซ่าย้องเมืองท้าวซู่ซุม (ฮุ่ง).