ภาษาอีสานหมวด "พ" 81 - 90 จาก 663
-
พรหมทัณฑ์
แปลว่า : การลงโทษอย่างหนัก เช่น พระพุทธเจ้าลงโทษแก่พระฉันนะ ห้ามไม่ให้ร่วมนอนร่วมฉันกับภิกษุเพราะเหตุที่ถือตัวว่าเป็นผู้ติดสอยห้อยตามพระพุทธเจ้ามาตลอด โทษเช่นนี้ เรียก พรหมทัณฑ์. -
พรหมลิขิต
แปลว่า : ดวงชาตา เรียก พรหมลิขิต คนเราจะดีหรือชั่วไม่ได้อยู่ที่ดวงชาตาอย่างเดียว แต่อยู่ที่เจ้าของดวงชาตาเป็นคนทำ ดวงชาตาทำอะไรให้เราไม่ได้ เราเท่านั้นเป็นคนทำ อยากได้ดีก็ทำดี อยากได้ชั่วก็ทำชั่ว การเชื่ออย่างนี้เรียกเชื่อ กรรมลิขิต. -
พรหมวิหาร
แปลว่า : ธรรมประจำใจของผู้ใหญ่เรียก พรหมวิหาร มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้ใหญ่ที่ขาดหลักธรรม ๔ อย่างนี้เรียกผู้ใหญ่ไม่สมบูรณ์แบบ ผู้ใหญ่จะใช้อุเบกขากับผู้น้อยอย่างไร การไม่เข้าข้างคนผิด เช่น เมื่อลูกน้องทำผิด ผู้ใหญ่ไม่เข้ามาช่วยให้ถูก ผู้ใหญ่วางตนเป็นกลางไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ทำผิดก็รับผิดไป ทำถูกก็รับถูกไป. -
พรหมัญญุตา
แปลว่า : ความเกื้อกูลแก่พรหมวิหารธรรม คือผู้ใหญ่ทุกคนจะต้องมีพรหมวิหาร ๔ ให้ครบ และใช้พรหมวิหารให้ถูก รักใคร่เขาเหมือนลูกหรือลูกน้อง นี่เองเรียก เมตตา ช่วยเขาในทางที่ถูก นี่เรียก กรุณา ยินดีในเมื่อเขาทำดีหรือได้ดี นี่เรียก มุทิตา วางเฉยไม่เข้าข้างออกขาในเมื่อเขาทำผิด นี่เรียก อุเบกขา ผู้ใหญ่มักจะขาดธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง มีเพียงพ่อ-แม่เท่านั้นที่มีพรหมวิหาร ๔ ไม่มีขาดไม่มีเกิน. -
พร้อม
แปลว่า : ร่วมกันทำ ทำด้วยกัน เรียก พร้อม เช่น ทำด้วยกัน คิดด้วยกัน พูดด้วยกัน. -
พร้อมบาด
แปลว่า : ทันทีทันใด เช่น เมื่อสั่งก็ลงมือทำ เรียก เฮ็ดพร้อมบาด. -
พร้อมพร่ำ
แปลว่า : พรั่งพร้อม มาพร้อมกันเรียก พร้อมพร่ำ อย่างว่า เมื่อนั้นภูเบศรเจ้าตนพ่อพระยาหลวง จวนใจเจ็บบ่ลืมนางน้อง พระให้หาหกท้าวกุมารมาฮีบ เมื่อนั้นหกพี่น้องโดยพร้อมพร่ำเมือ (สังข์). -
พร้อมพาบ
แปลว่า : พร้อม สรรพ พร้อมเพรียงกันเรียก พร้อมพาบ อย่างว่า ในเมื่อท้าวฮ่ำแล้วโฮมหมู่มุนตรี มวลมาประดับซู่ซุมเพียงพร้อม บัวนางเหน้าเฮือนหลวงไหลฮอด พร้อมพาบเมี้ยนเมือห้องดั่งคาม (สังข์) พระบาทเจ้าเสวยพาบพางาย (กาไก) พร้อมพาบล้มกลางห้องหอดหิว (สังข์). -
พร้อย
แปลว่า : ผ้าที่เก่าคร่ำคร่า ขาดรุ่งริ่งเหมือนธงหาง เรียก ผ้าพร้อย พักพร้อย ก็ว่า อย่างว่า ได้เมียบ่ดีปานสบไถเหล็ก เมียปากเก็กเก๋กผัวนุ่งผ้าพร้อย นาแฮ่งน้อยกล้าซ้ำบ่พอ ไปขอกินซู่วันเพิ่นเว้า (กาพย์ปู่). -
พระ
แปลว่า : ใช้แทนชื่อผู้เป็นใหญ่ในบ้านเมือง เช่น พระราชา พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระมเหสี ใช้แทนชื่อผู้เป็นใหญ่ทางพระศาสนา เช่น พระสงฆ์องคเจ้า ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในทางปกครองต่างๆ.