ภาษาอีสานหมวด "ฟ" 21 - 30 จาก 124
-
ฟะ
แปลว่า : เมล็ดข้าวที่ลีบเกิดเพราะขาดน้ำ หรือต้นข้าวงามเกินไป เรียก เข้าฟะ. -
ฟะฟะ
แปลว่า : อาการที่วัวควายบดเอื้องน้ำลายฟูมปากดังฟะฟะ หรือน้ำล้นคันนาเสียงดังฟะฟะ. -
ฟัก
แปลว่า : ชื่อไม้เถาจำพวกหนึ่ง ใช้ผลเป็นผัก มีผลยาวสีเขียว เรียก หมากฟัก คู่กับหมากแฟง. -
ฟัก
แปลว่า : กกไข่ ไก่กกไข่เรียก ไก่ฟักไข่ สับปลาสับเนื้อให้ละเอียดเรียก ฟักลาบ. -
ฟัง
แปลว่า : ฟังเสียงด้วยหูเรียก ฟัง อย่างว่า ฟังยินสักกุณาเค้าเฮียงคอนป้อนเหยื่อ พุ้นเยอ (สังข์) ฟังคำสอนของพ่อแม่ของครูบาอาจารย์เรียก ฟัง ฟังคำสอนของเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชา เรียก ฟัง. -
ฟั่ง
แปลว่า : รีบ ด่วน ทำโดยอาการรีบด่วนเรียก ฟั่ง อย่างว่า กวาดไพร่เข้าเมืองใหญ่ในปะกัน แมนก็ถือพลายโดยกล่าวเอาเจืองเจ้า กูก็ถอยแฮงฟ้าวฉับพลันทังฟั่ง เจ้าหมื่นม้าวเมือแท่นนางเฟือ (ฮุ่ง) โทเรใจฟั่งมโนปานม้า (กาไก) บาคราญท้าวจานางทังฟั่ง (กา) ยังหิวไห้อาทรทังฟั่ง (สังข์). -
ฟั่งฟ้าว
แปลว่า : รีบด่วน รีบด่วนเรียก ฟั่งฟ้าว อย่างว่า ม้าก็ทยานฟั่งฟ้าวเถิงท้าวบ่นาน (กาไก). -
ฟั่งเฟือน
แปลว่า : สะเทือน หวั่นไหว อย่างว่า ปลาดีดบ้อนในน้ำฟั่งเฟือน (กาไก) ผู้ที่เหง้าฟังแล้วฟั่งเฟือน (สังข์). -
ฟัด
แปลว่า : เหวี่ยง สะบัดไปมา กระทบ เช่น ใช้ฟืมกระทบเส้นด้ายหรือไหมเพื่อให้แน่นสนิท เรียก ฟัดหูก ต่ำหูก ก็ว่า. -
ฟัน
แปลว่า : กระดูกที่เป็นซี่ๆ อยู่ในปากเรียก ฟัน แข้ว ก็ว่า อย่างว่า มหาเถรเจ้าเจียฟันล้างลูบ น้ำส่วยหน้าแครงไล้เบี่ยงบิง (สังข์).