ภาษาอีสานหมวด "ม" 311 - 320 จาก 860

  • มูล
    แปลว่า : อุจาระ ขี้เรียก มูล เช่น ขี้งัวเรียก มูลโค ขี้ควายเรียก มูลควาย ขี้ฝอยเรียก มูลฝอย.
  • มูสิก
    แปลว่า : หนู (ป.).
  • เม
    แปลว่า : จมูกที่แบนใหญ่ เรียก ดังเม ถ้าจมูกใหญ่และกลม เรียก ดังโม.
  • เม็ก
    แปลว่า : เสมด ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบอ่อนใช้ทำผักกินได้ เรียก ผักเม็ก เรียกเกลือที่เป็นก้อน เช่น เกลือทะเลว่า เกลือหมากเม็ก.
  • เมฆ
    แปลว่า : ไอน้ำที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยอยู่ในอากาศเรียก เมฆ อย่างว่า แล้วล่วงขึ้นเถิงเมฆเมโฆ เทพาชมเซิ่งบุญยอย่อง ปืนเล่ายังแสวงเท้าสิมพลีสระใหญ่ ผันล่วงเข้าเถิงท้าวครุฑหลวง (สังข์).
  • เมขลา
    แปลว่า : ชื่อนางเทพธิดาประจำสมุทร อย่างว่า กับทังนางเทพสร้อยนางน้อยเมขลา (สังข์) สายรัดเอวหรือเข็มขัดสตรี เรียก เมขลา (ป.ส. เมขลา).
  • เมขลา
    แปลว่า : ชื่อนางเทพธิดาประจำสมุทร อย่างว่า กับทังนางเทพสร้อยนางน้อยเมขลา (สังข์) สายรัดเอวหรือเข็มขัดสตรี เรียก เมขลา (ป.ส. เมขลา).
  • เมฆเมือง
    แปลว่า : เทวดาอารักษ์มเหศักดิ์หลักเมือง เรียก เมฆเมือง (คลอง).
  • เมโฆ
    แปลว่า : เมฆ อย่างว่า ผ่อดูเมโฆเค้าคือเมยเมิลหมู่ พ่องคือข้าขอดเกล้าโซนขึ้นขอบเดอย (สังข์) ลายนกน้อยเนืองก่ายเป็นลาย เมโฆโยงเมฆเทียวเทิงฟ้า ลายบัวเกี้ยวผันลายแกมดอก ประดับแผ่นผ้าคำตุ้มขาบเชิง (ฮุ่ง).
  • เม็ง
    แปลว่า : ชื่อภูเขาลูกหนึ่ง มีสัณฐานเหมือนเตียง เรียก ภูเม็ง อยู่ในเขตจังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันเปลี่ยนจากภูเม็งมาเป็นอำเภอมัญจาคีรี เม็งแผลงมาจากภาษาบาลีว่า มัญจะ.