ภาษาอีสานหมวด "ม" 321 - 330 จาก 860

  • เม็ง
    แปลว่า : เตียง เตียงนอนของพระภิกษุเรียก เม็ง โบราณใช้เตียงไม้ไผ่เวลาทำกองบวช เจ้าภาพจะต้องมีเตียงไม้ไผ่สำหรับใส่กองบวช ก่อนจะบวชก็แห่เม็งนี้ไปตามบ้านญาติพี่น้องเพื่อให้อนุโมทนา พอบวชเสร็จก็ถวายเป็นเตียงให้พระใหม่ได้ใช้เป็นเตียงนอน.
  • เม็งชร
    แปลว่า : เตียง เตียงสำหรับนอนของพระราชา มหากาัตริย์ โบราณเรียก เม็งชร อย่างว่า บัดนี้พระราชท้าวสถิตนั่งเม็งชร ฮมเพิงมีคำสอนใส่หัวฝูงข้อย ดูดังเดือนจรข้อนมาลาฮสฮ่วง ระดูดอกไม้บานห้วยแค่ไพร่ (ฮุ่ง).
  • เม็ด
    แปลว่า : เมล็ด เมล็ดของผลไม้ทุกชนิดเรียก เม็ด ไน ก็ว่า เช่น ไนหมากมี้ ไนหมากม่วง ไนหมากอึ ไนหมากแตง ไนหมากบวบ เป็นต้น.
  • เมทนี
    แปลว่า : แผ่นดิน (ป.) เมทนีดล พื้นแผ่นดิน (ป.) อย่างว่า เมทนีสุดชั่วตาเต็มเยี้ยม (ลึบ).
  • เมม
    แปลว่า : เมรูที่เผาศพเจ้านาย เรียก เมม อย่างว่า ใผชิมาแปลงสร้างพระเมมหลวงเผาคาบพระนางนอ ที่นี้เป็นป่าไม้ไพรกว้างด่านดอย นางหากพลอยเมืองบ้านมาตายกลางป่า หาพี่น้องพงศ์เชื้อบ่มี พี่แล้ว (เวส-กลอน).
  • เม้ม
    แปลว่า : ปิดริม พับริม เช้น ม้วนริมผ้าเข้าหากันเพื่อเย็บ เรียก เม้มผ้า.
  • เมา
    แปลว่า : มีอาการฟั่นเฟือนเพราะฤทธิ์เหล้า ฤทธิยา เรียก เมาเหล้าเมายา เมาลาภยศสรรเสริญสุข เรียก เมามัว มัวเมา ก็ว่า อย่างว่า ทังหลายเพิ่นเมาเหล้าเมาชายาฝิ่น พี่นี้เมาแม่ฮ้างแม่หม้ายปานเอ้าอูดกระแต (ผญา).
  • เม่า
    แปลว่า : แมลงเม่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง เกิดจากปลวก มีปีกบินได้ เรียก แมงเม่า อย่างว่า แมงเม่าบินผ่านฟ้าบ่มีม้มปากอึ่งยาง (ภาษิต).
  • เม้า
    แปลว่า : มอมแมม คนที่สกปรก มอมแมม เรียก เม้า มุมเม้า ก็ว่า.
  • เม้าเม้า
    แปลว่า : แสงตะเกียงหรือแสงไฟฉายที่ใส มองเห็นในระยะไกลว่า เหลื้อมเม้าเม้า.