ภาษาอีสานหมวด "ย" 231 - 240 จาก 408

  • ยัน
    แปลว่า : ถีบ เตะ การใช้เท้าถีบเรียก ยัน อย่างว่า สองหางชี้ สี่หูชัน แปดขายัน ก้นหมั้นปานหมัด (ปริศนา).
  • ย้าน
    แปลว่า : กลัว รู้สึกหวาดสะดุ้ง เรียก ย้าน อย่างว่า ชาติที่เชื้อหน่อฟ้าชิมาย้านหย่อนใผ (กา).
  • ยาม
    แปลว่า : เยี่ยม ไปถามข่าวทุกข์สุข อย่างว่า เลยเล่ามีคำฮักสั่งมายามเจ้า (กาไก) ไปกู้ไซเรียก ไปยามไซ.
  • ยืน
    แปลว่า : ยาว นาน คนมีอายุยาวนานเรียก คนยืน อย่างว่า ขอให้ยืนหมื่นมื้อ ยาเศร้าค่อยคง (กาไก).
  • เยียน
    แปลว่า : ไปมาหาสู่กันเรียก เยียน เยือน ก็ว่า.
  • เยี้ยม
    แปลว่า : หน้าต่าง หน้าต่างเรียก ปล่องเยี้ยม ปล่องเอี้ยม ก็ว่า.
  • เยี้ยม
    แปลว่า : มองดู ชะโงกดู อย่างว่า ภูมีเยี้ยมพึงคณาช้างถ่าว เขาแล่นล้นลงพร้อมเผือกสาร (สังข์).
  • เยียว
    แปลว่า : ครู่ เดี๋ยว ประเดี๋ยว อย่างว่า ไม่บ่ทันแทกด้ามยาได้ฮ่าวฮอนตัด เยียวบ่เถิงภายลุนชิเคิกมือเมือหน้า (บ.).
  • เยียว
    แปลว่า : ผิว่า แม้ว่า ถ้าว่า อย่างว่า คึดฮ่ำฮู้เยียวแม่นเทวดา (สังข์).
  • เยียว
    แปลว่า : เกาะ จับ อย่างว่า ภูธรยื้อเยียวมือนางนาฏ (สังข์) มหารัสสี้เจ้าเยียวมือต้านสั่ง (สังข์) ย่าก็เยียวแขนแก้วกองแพงแลล่ำ (ฮุ่ง).