ภาษาอีสานหมวด "ย" 221 - 230 จาก 408
-
ไย่ไย่
แปลว่า : สลอน เคลื่อนไปเป็นแถวเป็นแนว อย่างว่า ไย่ไย่เชื้อไขหมากมาวาง เขาก็ปุนเปียวความฮีบนำถวายง้อม หานางผู้เพ็งศรีเสมอหล่อ นางนั่งล้อมเทียมแม่เพิงใจ (ฮุ่ง). -
ยง
แปลว่า : เหนจำพวกหนึ่ง ตัวใหญ่กว่าเหนอย่างอื่น เรียก เหนยง. -
ย้งย้ง
แปลว่า : การเดินตรงไปเรียก ย่างย้งย้ง อย่างว่า ก้มหมอบเข้าหัวเท้าง่ายาง ย่างย้งย้งหัวแทบขี้ดิน (เสียว). -
ย่งโย้
แปลว่า : กิริยาที่นั่งหรือยืนขยับตัวขึ้นๆ ลงๆ ก้มๆ เงยๆ เรียก ย่งโย้. -
ย้น
แปลว่า : ย่น ย่อ ย่นระยะทางยาวให้สั้นเรียก ย้น หย้อ ก็ว่า อย่างว่า พี่อยากหย้อแม่น้ำให้เป็นแผ่นดินเดียว คราวสองคืนสามคืนอยากหย้อเป็นคราวมื้อ (ผญา). -
ยอง
แปลว่า : ย่อง เดินย่องเรียก ย่างยอง ยองแยง ก็ว่า อย่างว่า มันก็ยองแยงเข้าฟันงูขาดถ่อง ปุ้นท้องขาดยังแต่สันหลัง งูก็มรณังตายแล่นหนีบ่เห็นส้น (เสียว). -
ยองย้อ
แปลว่า : ยองๆ นั่งยองๆ เรียก นั่งยองย้อ ย้องย้อ ก็ว่า อย่างว่า คันเฮานั่งย่องย้อเงากะนั่งลงตาม ยามเฮาเอนหลังนอนก็อ่อนลงนอนด้วย คันเฮาโตนลงห้วยภูผาหลายหลั่น ขึ้นต้นไม้ผาล้านด่านเขา เงาก็ติดตามเกี้ยวเกาะเกี่ยวพันธนัง บ่ได้มียามเหินห่างไกลกันได้ (ย่า). -
ยอม
แปลว่า : ประหยัด ออม ถนอม เก็บงำ เช่น เสื้อผ้าควรจะใช้ได้หนึ่งปี ก็ประหยัดใช้ได้สองปี อาหารที่ควรกินได้หนึ่งวัน ก็เก็บงำไว้กินได้สองวัน เรียก ยอม. -
ยัง
แปลว่า : ขึง ทำให้ตึง เช่น ขึงเชือก เรียก ยังเชือก ตึงผ้าเรียก ยังผ้า. -
ยั้ง
แปลว่า : หยุด พัก หยุดพักช่าวคราวเรียก ยั้ง อย่างว่า สัพพะกอดเกี้ยวกลอนเก่ามาแถลง ชื่อว่าเทวาพะวาดพะนอมไพรกว้าง บุญยวงยั้งเซาแคลนคราวหนึ่ง ดีแก่สังข์ล่วงผ้ายผันย้ายก่อนเบา (สังข์).