ภาษาอีสานหมวด "ล" 161 - 170 จาก 601
-
ลาด้าง
แปลว่า : ดาบ โบราณเรียกดาบว่า ลาด้าง อย่างว่า กวัดแก่วงฟ้อนลาด้างหอกทวน (กาไก). -
ลาน
แปลว่า : ที่สำหรับนวดข้าว เรียก ลาน ตุ้มสำหรับดักปลาชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ใช้รำล่อให้ปลาเข้าไปเรียก ตุ้มลาน ต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นตาล ใบเหมือนใบตาลแต่ใหญ่กว่า ใช้สำหรับจารหนังสือตัวธรรมและตัวไทยน้อย เรียก ต้นลาน. -
ล้าน
แปลว่า : ลักษณะของหัวที่ผมร่วงแล้วไม่ขึ้นอีก เรียก หัวล้าน หัวล้านโบราณแยกไว้หลายจำพวกคือ ล้านเดิ่นเด๋อ ล้านเจ้าเงินหมื่น ล้านตื่นสากมอง ล้านคิมมิมบังสิมสี้ม้า ล้านม้าก้าเมือบ้านสี้หมา ล้านแหมแขแป๋อุ้มแป๋เฟือย ล้านวนเวียนนกเขียนย่ำขี้ ล้านแบบนี้ขี้ถี่ควมกิน ลักษณะของหัวล้านอีกแบบหนึ่ง มีดังนี้ คือล้านหน้าผากล้านยากล้านจน ล้านใบหูล้านถูล้านทั่ง ล้านคิมมิมบังสิมสี้ม้า หัวล้านแง่แพ้แม่จังหัน หัวล้านง่อนล้านอ่อนล้านแอ ล้านจอมขวัญล้านเจ้าเงินหมื่น ล้านดื่นดื้อล้านตื่นสากมอง (บ.). -
ล้านช้าง
แปลว่า : ชื่อของนครเวียงจันทน์ เล่ากันว่า เมืองเวียงจันทน์ชื่อเดิมว่า เมืองศรีสัตนาคนหุต คือมีช้างถึงล้านตัว ช้างนั้นดุร้ายมาก เจ้าเมืองจึงยกลูกสาวและเมืองให้ท้าวศรีโคตรพระตะบองครอบครอง เพราะท้าวศรีโคตรพระตะบองมีมนต์ปราบช้าง (บ.). -
ลาบ
แปลว่า : อาหารประเภทพร่าและยำ ถือว่าเป็นอาหารประเภทสูงของชาวอีสานในการเลี้ยงแขกเลี้ยงคน หรือทำบุญให้ทาน ถ้าขาดลาบอย่างเดียวถือว่าเป็นการเลี้ยงขั้นต่ำ. -
ลาบซาบ
แปลว่า : ลักษณะของสิ่งของที่แขวนเรียงกันเป็นแถวเป็นแนว เรียก เรียงลาบซาบ เลียนซาบลาบ ก็ว่า. -
ลาม
แปลว่า : ติดต่อ ขยาย เช่น ไฟลุกติดต่อกันไปเรียก ไฟลาม อย่างว่า ฝันว่าไฟลามไหม้ขอนไฮแคมขอนดอก ขอนพอกบ่ไหม้ไปไหม้แก่นคะยูง (กลอน) เวรติดต่อเวรเรียก เวรลาม อย่างว่า ดูดั่งเวราลามคอบคีงคุงเนื้อ (สังข์) น้ำเนตรย้อยลามแก้มชุ่มสะใบ (กา). -
ล่าม
แปลว่า : ผูกติดไว้กับหลัก ใช้เชือกผูกวัวติดกับหลักเรียก ล่ามงัว อย่างว่า เชือกสามวาล่ามช้างอ้างอวดว่าโตดี (ภาษิต) นุ่งผ้าแล้วปล่อยชายผ้าลงไปเรียก ล่ามผ้า อย่างว่า เลากะจ้อนผ้าขึ้นปกล่ามปลายตีน ถุยลุยลงลากขี้ดินจำก้น (เสียว). -
ลามุก
แปลว่า : สกปรก ชั่ว เลวทราม อย่างว่า อันกูมะทีหากเห็นเป็นลามุก (เวส). -
ลาย
แปลว่า : เส้นที่เขียนหรือแกะสลักให้เป็นรูปต่างๆ เรียก ลาย ผ้าที่ทอเป็นตาอย่างผ้าขาวม้าเรียก ผ้าลาย.