ภาษาอีสานหมวด "ล" 171 - 180 จาก 601
-
ลาย
แปลว่า : แบบอย่างการเป่าแคน เรียก ลายแคน เช่น ลายสุดชะแนน ลายแมงภู่ชมดอก ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายสร้อยใหญ่ ลายสร้อยน้อย ลายโป้ซ้าย ลายยาว. -
ลาย
แปลว่า : น้ำลาย น้ำลายเรียก ลาย อย่างว่า คืนนั้นหลับผอกพ้นจนเหล่าหลงจิต ลายเหือยเห็งเศลษม์ฟองปูมย้อย นางคราญค้นหลายทีเยื้อนยาก ยักษ์ใหญ่สะดุ้งหลงเนื้อสั่นสาย (สังข์). -
ล่าย
แปลว่า : ปด หลอกลวง การพูดปด เรียก เว้าล่าย อย่างว่า เขาก็เฮียงมือพร้อมเพียงความแล้วล่าย (สังข์) อย่าล่ายลิ้นลวงหลิ้นบ่ควร แท้แล้ว (นกจอก) เกรงท่อจอมพระอวนอ้ายวาจาเว้าล่าย (ผาแดง). -
ล้าย
แปลว่า : แจวเรือขนาดใหญ่ ใช้เหมือนตีกรรเชียง อย่างว่า แซวเยอ ฝูงไท้ล้ายขันโทมทังถ่อ แซวถ้อน (สม). -
ลายขัด
แปลว่า : ดอกไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นๆ สั้นยาวตามต้องการ จะย้อมด้วยสีหรือไม่ก็ได้ เหลาให้เกลี้ยงเกลาแล้วสานขัดกัน ยกเส้นข่มเส้น เรียก ลายขัด ใช้ทำพัดหรือไม้ตีแมลงวันก็ได้. -
ลายขิด
แปลว่า : ฝ้ายหรือไหมที่มัดด้วยเชือกหรือปอกล้วย ย้อมด้วยสีต่างๆ เมื่อย้อมได้สีดีแล้วจึงแก้เชือกมัดออก นำฝ้ายหรือไหมไปทอเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม หรือผ้าเย็บหมอน ผ้าที่ทอเป็นผืนแล้วเรียก ผ้าลายขิด มีชื่อเรียกตามลายที่เรามัด เช่น ขิดหมากมอน ขิดดอกแก้ว ขิดกาบ ขิดขอ ขิดตามน ขิดคน ขิดดอกบัว ขิดช้าง ขิดตาไก่ ขิดดาว ขิดแอวขัน ขิดส้อยพร้าว ขิดดอกต้าง ขิดแงหมากหวาย ขิดดอกผักแว่น ขิดม้า ขิดลอด ขิดหมากโมง ขิดส้อยหมาก ขิดอุ้มหน่วย ขิดดอกฮัง ขิดดอกจอก (บ.). -
ลายคุบ
แปลว่า : ตอกไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นๆ ยาวประมาณ ๓ หรือ ๔ ศอก สานขัดกันคือ ยกสี่ข่มสาม ยกสองข่มสามสลับกันไป ลายคุบนี้สานแอ้มเฮือน แอ้มส้วมอาบ แอมส้วมนอน. -
ลายจีน
แปลว่า : ลายที่เขียนโดยช่างจีน หรือที่เขียนคล้ายลายจีน เช่น ลายที่เขียนภาชนะกระเบื้อง ถ้วย โถ โอ จาน เรียก ลายจีน. -
ลายตา
แปลว่า : ตาที่มองเลือนหรือพร่าไป เรียก ลายตา. -
ลายตาแหลวห้อ
แปลว่า : ลายเฉลว