ภาษาอีสานหมวด "ล" 141 - 150 จาก 601

  • ลัวอา
    แปลว่า : ญาติผู้ใหญ่ เรียก ลัวอา อย่างว่า เสียงสั่งพร้อมพรพร่ำเนืองนัน ลัวอาหิวฮุ่งวอนแวนหม้อม ดีแก่สองขุนก้มลาลงเลยพราก ขึ้นขี่ม้าผันผ้ายเผ่นผยอง (สังข์) เมื่อนั้นพุ่งพุ่งพร้อมเชืองถ่าวอาลัว แจนแจนจัดโสรจสรงสีล้าง ลางคนบายเอาผ้าใยบัวเลิงแลบ มาห่มเจ้าแพงช้างลูกจอม (ฮุ่ง).
  • ลัวะ
    แปลว่า : ทะลัก น้ำไหลออกพร้อมกันมากๆ เรียก น้ำไหลออกลัวะลัวะ.
  • ลัวะ
    แปลว่า : ทำให้ทะลุ เช่น ทะลุหนองฝีออก เรียก ลัวะหนองฝีออก.
  • ลา
    แปลว่า : บอกกล่าว จะไปธุระอะไรที่ไหน โบราณให้บอกลาเสียก่อนจึงไป อย่างว่า ไปให้ลามาให้คอบ (ภาษิต).
  • ลา
    แปลว่า : ดาบ ดาบโบราณเรียก ลา อย่างว่า บางพ่องฟันลาฟ้อนตามกันเต้นแล่น (กา).
  • ล้า
    แปลว่า : เมื่อย หมดแรง อย่างว่า พันครุฑเข้าไหลมามัวมืด นาคตื่นเต้นหนีล้าบ่าเบา (สังข์) บาก็ยินแคลนล้าเซานอนในตาด (กาไก).
  • ลาก
    แปลว่า : ดึง ฉุด อย่างว่า เมื่อนั้นยังมีกันดารกล้าสามานย์มาจวบ มันก็เต้นไต่ก้อนผาล้านลากกระบอง (สังข์) ยู่ทางเข้าซอกไซ้พุงใส้ลากกิน (กา).
  • ลากเชือก
    แปลว่า : ชื่องูชนิดหนึ่ง ตัวเล็กคล้ายเชือก เรียก งูลากเชือก งูเลือกเชือก งูลอกเชือก ก็ว่า.
  • ลาคำ
    แปลว่า : ดาบ ลาคำโบราณเรียก ดาบ อย่างว่า ยาบยาบฟ้อนไกวดาบลาคำ (กาไก).
  • ลาง
    แปลว่า : สัญญาณบอกเหตุดีหรือร้าย เรียก ลาง อย่างว่า วิบากนี้ลางเล่าเล็งเห็น เฮาจักปุนคำเส็งชื่อเมืองฝูงเถ้า ดูก่อน เชิญแม่หอมจิตไว้วางเสียอันถ่อย ผิดเผ่าฮ้ายเฮาเลี้ยงห่อนควร (สังข์).