ภาษาอีสานหมวด "ล" 131 - 140 จาก 601
-
ลั่น
แปลว่า : เสียงฟ้าร้องเรียก ฟ้าลั่น เสียงตีฆ้องเรียก ลั่นฆ้อง เหนี่ยวไกปืนเรียก ลั่นไกปืน อย่างว่า ฟังยืนพร่างพร่างฟ้าเตินลูกเมือแมน พุ้นเยอ จอมธรรม์ทรงอาวรณ์เฮียกขวัญหาห้อง คนิงเถิงแก้วสามพระองค์อันพราก วันั้น กับทังสองสิ่งเหง้าสงวนน้อยแม่เมือง (สังข์). -
ลั่นเต็ง
แปลว่า : ล้มทับ เรียก ลั่นเต็ง อย่างว่า เสียงยิ่งเพี้ยงฟ้าลั่นลงเหง ทังสองสลบท่าวตนตอมสบั้น ภูมีท้าวธรงธนูก้าวแกว่ง ปีนล่วงล้ำผาเผี้ยนเกลื่อนกอง (สังข์) ใจขุ่นเขี้ยวคือฟ้าลั่นเต็ง (กา). -
ลับ
แปลว่า : ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็นเรียก ที่ลับตา ที่อยู่ซึ่งไม่ได้ยินถึงเรียก ที่ลับหู ที่อยู่ในที่ซ่อนเร้นเรียก ที่ลับลี้ อย่างว่า ผ่อเห็นสูรย์เคี่ยนค้อยลับเหลี่ยมลงแลง พุ้นเยอ สามศรีเสงียมค่อยเนานอนหั้น โฉมพราวท้าวจาสังข์น้องนาถ เทื่อนี้เศิกคั่งเค้าคุงข้อนฮอดเฮา แท้แล้ว (สังข์). -
ลัว
แปลว่า : ผู้สืบตระกูลมาจากพระเจ้าแผ่นดินหรือเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่เรียก ลัว อย่างว่า บางพ่องเข้าแทบใกล้หัตถบาสสังคม เขาก็หอมเทพีสว่ายสรงเลยแล้ว เลยเล่าปุนความให้หาลัวเถ้าแก่ ยอใส่ด้งกระเบียนแก้วผอกผี (ฮุ่ง). -
ลั่ว
แปลว่า : พูดปด หลอก พูดหลอกลวง เรียก เว้าลั่ว (ส่วย) อย่างว่า เมื่อนั้นท้าวอว่ายหน้าต้านตอบนางผี มึงนี้แนวจังไฮลั่วกินคนใบ้ มึงหากเคยสลับลิ้นลวงกลกินท่านกูก็ฮู้เพศเพี้ยงผีเถ้าซู่เซิง แล้วเด (สังข์). -
ลั้ว
แปลว่า : บ่างกระรอก ชื่อบ่างชนิดใหญ่เรียก บ่างลั้ว อย่างว่า ฝูงนี้เคยเลียบน้ำซอนซอกชานหนอง สูหากชุมชาวเดียวอย่าปองเป็นแพ้ กันเนอ ฝูงนั้นแกงกดเอี้ยงอำพาโพนโดก เปล้าป่าวไม้ลอลั้วล่างบน (สังข์). -
ลั้ว
แปลว่า : ใหญ่ ยาว ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อบางเป็นมันรื่นใหญ่และยาว เรียก แพรลั้ว สะใบลั้ว ก็ว่า อย่างว่า เขาก็ปูแผ่นผ้าสะใบลั้วฮับบา (กา). -
ลั้ว
แปลว่า : ไม่เตรียมการ อย่างว่า แฮดีกว่าลั้ว เอาผัวเมียดีกว่าอยู่เปลี่ยว (ภาษิต). -
ลัวลัว
แปลว่า : สั่น ไม่ชัด พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำ เรียก เว้าลัวลัว อย่างว่า เว้าลัวลัวเสียงหัวปานม้า (น.). -
ลั้วหลาก
แปลว่า : มาก หลาย อย่างว่า ฝูงหมู่เงินคำแก้วเจ็ดประการลั้วหลาก (เวส) สัพพะสันล้นเงินคำลั้วหลาก (กาไก).