ภาษาอีสานหมวด "ล" 111 - 120 จาก 601

  • ละแมนโขน
    แปลว่า : การเล่นชนิดหนึ่ง คล้ายละครรำ ผู้แสดงสวมหัวโขน เรียก ละแมนโขน อย่างว่า ชาวละแมนโขนเสบพระองค์คีค้อย (หน้าผาก).
  • ละลวย
    แปลว่า : ชื่อมนต์ชนิดหนึ่ง เสกแล้วจะรวยเงินทองข้าวของ ถ้าลวยจนไม่มีที่เก็บเรียก มหาละลวย.
  • ละลา
    แปลว่า : หนาม (เยอ) อย่างว่า สะอาดย้องปักปิ่นละลา ชมบาเฮืองล่ำแลหลิงท้าว ลางนางเกล้าเกษาหอมฮื่น กาก่องก้าวงามยิ่งแมนเขียน (ฮุ่ง).
  • ละไล้
    แปลว่า : ลูบ ไล้ ลูบไล้ก็ว่า อย่างว่า เมื่อนั้นพระแม่เจ้าใจบ่มีมาย หากได้ทูลเทียนเถิงเทพไททานให้ เห็นว่าเป็นตายฮ้ายฮุนดอมดาขอด กันแล้ว ฝูงแม่พร้อมเพียรล้างลูบไล (สังข์).
  • ละว้า
    แปลว่า : ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ในตระกูลมอญเรียก ละว้า อย่างว่า เขาก็เอากันเขาภูเขาบ้านป่า เป็นละว้าเดียวนี้หากยังเจ้าเอย (ผาแดง).
  • ละห้อย
    แปลว่า : สวยงาม อย่างว่า สุบเกิบแล้วดูละห้อยเกิ่งแมน (ขูลู) น่ารัก น่ารำพึง อย่างว่า จาเสียงหวานต่บาคำละห้อย (ขูลู).
  • ละหาน
    แปลว่า : ที่ลุ่มเก็บน้ำไว้ได้มาก เรียก ละหาน หรือที่เป็นต้นน้ำลำธารหรืห้วยก็เรียก ละหาน.
  • ละเหย
    แปลว่า : ระเหย การหายไปโดยมองไม่เห็นเรียก ละเหย เหย ก็ว่า อย่างว่า จวงจันทน์คู้ทะลอนหอมเหยกลิ่น แมงภู้เผิ้งชมชั้วชอบใจ (ย่า).
  • ละออง
    แปลว่า : ฝุ่น ผง ผงละเอียด เกสร อย่างว่า ท่อว่าปกติน้อยประสงค์ชมดวงดอก ละอองโอบแก้มสองข้างไขว่แถว (สังข์).
  • ละอามือ
    แปลว่า : เหนื่อยมือ อย่างว่า เมื่อนั้นธรเทพถ้าขามใคร่ละอามือ มันก็นำเอาหัวต่อตนตะเดินเว้น ศรีพราวฮู้ธรกลัวกลับหลีก ท้าวผาบแพ้ฝูงฮ้ายฮาบมาร (สังข์).