ภาษาอีสานหมวด "ล" 251 - 260 จาก 601
-
ลือเกียรติ์
แปลว่า : ชื่อเสียงแผ่กระจายไป เรียก ลือเกียรติ์ อย่างว่า องค์กษัตริย์อ้างลือเกียรติ์กงโลก (กา). -
ลือซ่า
แปลว่า : เลื่องลือไปทั่ว เรียก ลือซ่า อย่างว่า ลือซ่าเท้าทังทีปเขาขาม พันเมืองมาช่อยทองทังค้าย ยูสนุกเว้นอลหนหายโศก ท่อว่าภูวนาถไฮ้แนวน้องบ่หลาย (สังข์). -
ลุ
แปลว่า : ถึงจุดที่ต้องการเรียก ลุ อย่างว่า บัดนี้ลุที่แม้งโดยดั่งปรารถนา แลเด (ผาแดง) ขอให้ลุที่แม้งได้ดั้งใจจง (กา) เป็นใดเจ้าจอมหลานลุลาภ ดีรือ อาออกเจ้ายังฮ้ายฮู้ว่าดี นั้นเด (สังข์). -
ลุ
แปลว่า : โชคดี มีลาภ เช่นเลี้ยงลูกดีเรียก เลี้ยงลูกลุ ค้าขายมีกำไรเรียก ค้าลุ เรียนหนังสือดีเรียก เฮียนลุ ประสบโชคเรียก ลุโชค. -
ลุกลุก
แปลว่า : ปลุกให้ตื่น เช่น นางสุมุณฑาปลุกยักษ์กุมภัณฑ์ให้ตื่นขึ้น อย่างว่า ลุกลุกท้อนเมียจักพรากพลอยไกล จากแล้ว สังว่านอนหลับหลายลื่นคลองดูฮ้าย เมื่อนั้นมหากษัตริย์เจ้าคองนางนานคอบ บาก็เสด็จต่าวตั้งเถิงห้องเฮ่งความ (สังข์). -
ลุงออก
แปลว่า : พี่ชายของพ่อหรือของแม่ เรียก ลุงออก ถ้าเกิดนอกสายเลือดจะเรียก ลุงออกไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่มีเชื้อสายเดียวกันจะเรียกเป็น อาวออก อาออก ก็ได้ อย่างว่า กูพระองค์ล้ำกุมพลลุงออก (กา). -
ลุด
แปลว่า : อาการที่คนหรือสัตว์ตัวเดียวเดินไปโดยไม่หยุด เรียก ย่างลุด. -
ลุดลุด
แปลว่า : อาการที่วัวเป็นฝูงๆ เดินไปโดยไม่หยุด เรียก ย่างลุดลุด. -
ลุน
แปลว่า : ทีหลัง ภายหลัง ลูกที่เกิดทีหลังเรียก ลุน ผู้ชายเรียก บักลุน ผู้หญิงเรียก อี่ลุน บักกับอี่เป็นคำพูดสามัญ ไม่เห็นหยาบคายที่ตรงไหนเลย อย่างว่า เถิงเมื่อวันลุนแล้วเสนาข้าไพร่ (หน้าผาก) พ่อก็คึดเคียดแค้นตางเจ้าลูกลุน (กา). -
ลุ่ม
แปลว่า : ใต้ ข้างล่าง ที่ต่ำ ช้างล่างเรือนเรียก ใต้ลุ่ม ใต้ล่าง ก็ว่า ตรงข้ามกับข้างบนว่า เทิง อย่างว่า ซวาดซวาดน้ำฮวายฮวาดสุคันธา พอดีเสด็จออกมาเกยกว้าง หลายถันถ้องตาวแวงระวังราช คนคั่งเค้าโฮงฮ้านลุ่มเทิง (สังข์).