ภาษาอีสานหมวด "ล" 311 - 320 จาก 601
-
เลา
แปลว่า : ลำตัวเรียก เลาคีง อย่างว่า ชมแพงศรีลูบเลิงเลาอ้วน (กา). -
เลา
แปลว่า : ผู้ที่เราพูดถึง เรียก เลา อย่างว่า เลากะจ้อนผ้าขึ้นปกล่ามปลายตีน ถุยลุยลงลากขี้ดินจำก้น (เสียว). -
เลา
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวมอๆ เรียก ต้นเลา อย่างว่า เลาแซงช้อนชอนดินปีนป่าย (กา) กระบอกไม้ไผ่ที่ลนไฟทะลุปล้อง เรียก เลาบั้งไฟ กระบอกโลหะที่มีรูปกลมยาวมีรูทะลุลอดเรียก เลาปืน. -
เลา
แปลว่า : สาย ปล่อง ช่อง เช่นเลือดที่ไหลเป็นสายเรียก เลาเลือด อย่างว่า พ่างพ่างล้นเลาเลือดลามไหล (สังข์) ตายลงพื้นเพ็งดินเลาเลือด (กา) ลมออกจมูกเรียก เลาลม อย่างว่า เลาลมหลวงออกตัวสองก้ำ (สังข์). -
เล่า
แปลว่า : ครั้ง คราว เช่นไปมาหลายครั้ง เรียก หลายเล่า อย่างว่า ภูมีเข้าดงเลาหลายเล่า ทางเก่าเกี้ยวหลายเกี้ยวท่องมา (กา) สองจาเกี้ยวคำแพงพันเล่า (สังข์). -
เล่า
แปลว่า : เลย อย่างว่า สองอ่อนท้าวกินแล้วเล่านอน (สังข์). -
เล่า
แปลว่า : บอก เล่า เช่นบอกญาติพี่น้องให้มาช่วยงานเรียก เล่าพี่เล่าน้อง ท่องหนังสือ เรียก เล่าหนังสือ จ่มหนังสือ ก็ว่า อย่างว่า ของกินบ่กินมันเน่า ของเก่าบ่เล่ามันลืม (ภาษิต). -
เล้า
แปลว่า : ยุ้ง ฉาง ที่สำหรับเก็บข้าวเปลือกเรียก เล้าเข้า อย่างว่า เฮ็ดหน้าเหมิดปีไฟไหม้เล้าเข้า (ภาษิต). -
เล้า
แปลว่า : ที่อยู่ของไก่เรียก เล้าไก่ ลกไก่ นกไก่ ก็ว่า อย่างว่า ขอนขอนเสียงไก่ขันในเล้า (ฮุ่ง). -
เล้า
แปลว่า : เลือก กิน อย่างว่า ฮ้องฮ่ำไม้ชมเล้าลูกลาง (ฮุ่ง).