ภาษาอีสานหมวด "ส" 581 - 590 จาก 1063
-
เสีย
แปลว่า : เสีย หาย. -
เสีย
แปลว่า : ดายหญ้า เรียก เสียหญ้า อย่างว่า จัดไพร่แผ้วเสียพื้นฮาบงาม (กาไก). -
เสียงแข็ง
แปลว่า : คำพูดที่กล่าวออกมาโดยไม่ยำเกรง เรียก เสียงแข็ง. -
เสียงควง
แปลว่า : เสียงดังกังวาล. -
เสียงโค
แปลว่า : เสียงพร่า เสียงแตก. -
เสียงฟ่าว
แปลว่า : เสียงแหบแห้ง เกิดเพราะเป็นหวัดหรืออดหลับอดนอน อย่างว่า ฟังเสียงเจ้าสังมาเป็นฟ่าวฟ่าว เสียงปากเว้ามุ่นมู้คือชู้เจ้าอยู่กรรม (ขุนทึง). -
เสียงหอง
แปลว่า : เสียงสูง เสียงเอก. -
เสี่ยงบุญเสี่ยงกรรม
แปลว่า : ลองดูว่าจะดีหรือไม่ ทั้งนี้ก็แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา. -
เสี้ยง
แปลว่า : หมด สิ้น ทั้งหมด ทั้งสิ้น อย่างว่า ไฟมารมุดมอดเย็นหายเสี้ยง (กาไก) เวรเก่าเสี้ยงเฮียมตั้งต่าวคืน (หน้าผาก). -
เสี่ยงเงี่ยง
แปลว่า : เอียง สิ่งที่ตั้งไว้ไม่ตรงเอียงไปเกือบจะล้ม เรียก เสี่ยงเงี่ยง.