ภาษาอีสานหมวด "ส" 61 - 70 จาก 1063

  • ส้ง
    แปลว่า : คนไทยจำพวกหนึ่งซึ่งมีจารีตประเพณีภาษาพูดเหมือนลาว เรียก ลาวส้ง.
  • ส้ง
    แปลว่า : กางเกง กางเกงที่ย้อมด้วยสีครามที่เรียกว่า จุบคราม หรือผ้าหม้อห้อมที่ไทยเหนือ เรียก ผ้าส้ง ผ้านี้ทำด้วยฝีมือของลาวส้งเอง ผ้าที่นุ่งขาสั้นเหมือนกางเกงของจีน เรียกพวกนุ่งส้งนี้ว่า ลาวส้ง.
  • สงกาสงเกิ้ง
    แปลว่า : ความสงสัย เรียก สงกาสงเกิ้ง (สำ.) อย่างว่า อย่าได้สงสัยถ้อนคำสูญเสียเปล่า (หน้าผาก) โดยบ่ต้องสงเกิ้งเหลี่ยมใด (สังข์).
  • สน
    แปลว่า : ร้อย สอด เช่น เจาะจมูกวัวควายแล้วเอาเชือกร้อย เรียก สนตะพาย สนเคราควาย ก็ว่า อย่างว่า ตกตาได้เว้าชิสนเคราผูกขี่ แสนชิโดงโดดเต้นชิเอาแส้เข่นตี (กลอน).
  • สน
    แปลว่า : ล่ำสัน คนล่ำสันเรียก คนสน หนามหนาหนามทึบ เรียก หนามสน อย่างว่า หนามฮกกะชิหม้นหนามสนกะชิผ่า ป่าขี้อ้นตันหน้าชิค่อยถาง (กลอน).
  • สน
    แปลว่า : ขวักไขว่ สับสน ยุ่งเหยิง อย่างว่า สนสนลงสู่นทีวังกว้าง (ขุนทึง) พวกธนูหน้าไม้ยิงเข้าส่วนสน (กาไก) ปืนก็สนสนเข้าปรางค์ทองภูวนาถ (กา) สนส่วนไค้ผีเสื้อคื่นเค็ง (กาไก).
  • ส้น
    แปลว่า : ส่วนท้ายของเท้า เรียก ส้นน่อง เดินตามหลัง เรียก ติดตามส้น อย่างว่า อย่าได้ติดตามส้นของคนท้องยึ่ง มันชิตดใส่เจ้าดังเว้อปึ่งเหม็น (ย่า) ก็บ่เห็นภูมีล่วงมาตามส้น (กาไก) เลยบ่เห็นยังส้นบาคราญพรากห่าง (ผาแดง).
  • สนลนสนล้าว
    แปลว่า : คนที่ทำอะไรไม่ละเอียดถี่ถ้วน ทำเพียงลวกๆ เรียก สนลนสนล้าว.
  • สบ
    แปลว่า : ริมฝีปาก เรียก สบ ผีสบ สีสบ ก็ว่า ผาลหรือหัวหมูสำหรับไถนา เรียก สบไถ หมากสบไถ ก็ว่า.
  • สบ
    แปลว่า : สวมหรือใส่เรียก สบ อย่างว่า นางคราญสบเกษผมงามละห้อย (กา) บาก็ปุนมาลัยให้จอมนางสบเกษ (กา) เสกมนต์ เรียก สบมนต์ อย่างว่า แม้นจักสบเป่าปลิ้นคืนได้บ่ห่อนกลัว (กาไก).